วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียนรู้สมาธิจากการปฏิบัติ

 

ข้าพเจ้าเป็นผู้บุคคลหนึ่ง ที่เริ่มหันมาปฎิบัติธรรม จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
นเรื่องแสงสีออร่า โดยข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติสมาธิขั้นต้น เหมือนบุคคลทั่วไป
จากการศึกษาสมัยเด็กที่เราได้ศึกษามาจากโรงเรียน
การนั่งขัดสมาธิ
การกำหนดลมหายใจเข้า ( พุท ) หายใจออก ( โธ )

แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าวิธีดังกล่าว ไม่สามารถทำให้ข้าพเจ้าพัฒนา
ได้เท่าที่ควรจากการปฏิบัติ
เพราะรู้สึกว่าจิตของข้าพเจ้าไม่สงบนิ่ง 

เพราะรู้สึกปวดเมื่อยจากการนั่งสมาธิ ทำให้ข้าพเจ้าอยากทราบว่า  
มีวิธีใดบ้างที่สามารถปฎิบัติสมาธิได้เร็วขึ้น ดังนั้นข้าพเจ้าจึง 
ศึกษาหาความรู้ด้านสมาธิเพิ่มเติม ปรากฏว่าวิธีการ
ใช้ฝึกสมาธิ มีด้วยกันหลายรูปแบบ หลายวิธีการ


วิธีการฝึกสมาธิ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิเท่านั้น
มีท่าสมาธิหลากหลายท่า

ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด ดังนั้นข้าพเจ้า พบว่า ท่าฝึกสมาธิ
ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน ท่านั่งเท่านั้นสามารถใช้ “ ท่านอนก็ได้ ” แต่กำหนดจิตให้นิ่ง
รู้ตัวและตื่นตัวตลอดเวลา เหมือนเรานอนหลับ แต่เรานั้นไม่ได้หลับ จิตกำหนดอยู่ที่
ลมหายใจเท่านั้น และรู้สึกไม่ปวดเมื่อยเหมือนอย่างที่เคยพบว่าวิธีนี้ปฎิบัติสมาธิ
ได้เร็วกว่า ข้าพเจ้าจึงหันมาใช้วิธี กำหนดลมหายใจ การฝึกสมาธิแบบ “ มโนยิทธิ ”
รู้สึกเหมาะสมกับข้าพเจ้ามากกว่า ข้าพเจ้าจึงใช้วิธีดังกล่าวในการปฏิบัติสมาธิ
ภายหลังรู้สึกว่าหลังจากการปฏิบัติจะทรงสมาธิได้ดีขึ้น


นิมิตเกี่ยวกับสี ก็พัฒนาเร็วขึ้นตามลำดับ หลังจากการปฎิบัติดังกล่าว
ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติได้ดีขึ้น ข้าพเจ้าสามารถทรงสมาธิได้ดี ข้าพเจ้าจึงหันกลับ
มาปฎิบัติใน “ ท่านั่งทรงสมาธิ ภายหลังอีกครั้ง
ก็สามารถทำได้

และมีสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า เป็นวิธีสำหรับผู้ปฎิบัติสมาธิมือใหม่
อย่างข้าพเจ้า สามารถนำไปฝึกฝนได้ ผู้เขียนอาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านสมาธิและวิปัสนากรรมฐานด้านสมาธิชั้นสูง หรือเป็นผู้ทรงญาณ
ในระดับสูง เป็นผู้ที่เริ่มจากการปฏิบัติด้วยตนเอง
 


จึงนำความรู้ดังกล่าว มาเป็นประสบการณ์ ให้กับสาธุชนทั้งหลายที่สามารถ
ฎิบัติตามได้ แต่หากท่านผู้อ่านต้องการความรู้ลึกซึ้งกว่านี้ ควรจะปรึกษาพระภิกษุสงฆ์
หรือผู้ปฎิบัติที่ได้ทรงญานในระดับสูง เป็นผู้ให้ความรู้เพิ่มเติม ให้คำแนะนำต่อไปใน
ระดับสูงขึ้น เพื่อเลือกวิธีการที่ฝึกปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง ของแต่ละตัวบุคคล
จะได้ปฎิบัติได้ถูกต้องตามแนวทางนั้นๆ ดังนั้นผู้เขียนจะขอกล่าวในระดับที่ตนเองปฎิบัติอยู่
หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ตัวเองได้ประสบและค้นคว้ามาประกอบในการปฎิบัติสมาธิครั้งนี้

หากวิธีการของข้าพเจ้า สามารถทำให้ท่านทั้งหลาย ปฎิบัติสมาธิได้ดีขึ้น ข้าพเจ้าก็ขอ
โมทนาบุญกับสาธุชนทั้งหลายด้วย การจะปฎิบัติได้เร็วหรือช้านั้น บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ
บุญวาสนาของแต่ละบุคคลที่ถูกสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ และติดตัวมา
กับแต่ละบุคคลนั้นๆ ที่ทำการสะสมผลบุญบารมีมาแต่ก่อนมาช้านาน แต่หากสาธุชน
ทั้งหลายปฎิบัติได้ช้าก็มิเป็นไรอย่าท้อแท้ใจกับสิ่งนั้น ก็ควรหมั่นสะสมบุญบารมี
ตั้งแต่ชาตินี้ภพนี้ ไปถึงภพหน้า 

เพราะข้าพเจ้าคิดว่า สักวันหนึ่งผลบุญบารมีที่ถูกสั่งสมมา จะส่งผลให้ทุกท่านปฎิบัติได้ดีขึ้น 
และอาจจะได้รู้ ได้เห็น สิ่งที่ไม่เคยเห็น และสามารถเห็นได้และค้นพบ สัจจะธรรมความจริง
ด้วยตัวของท่านเองเหมือนที่ผู้เขียน ได้เห็นแสงออร่า 

“ แสงฉัพพรรณรังสีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ก็สามารถจะพบดวงตาเห็นธรรมได้เช่นกัน
ถึงแม้ผู้เขียน 

ไม่ได้ถึงระดับผู้ทรงญานชั้นสูง แต่ข้าพเจ้าก็พึงพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เพราะทำให้ข้าพเจ้า 
ได้ค้นพบความจริงอีกหลายเรื่อง และสามารถหาคำตอบมาพิสูจน์กันได้ เกี่ยวกับพุทธานุภาพ
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากการปฎิบัติ และจากทรษฎีความเป็นจริง ซึ่งสาธุชนทั้งหลาย
ก็สามารถประจักษ์ได้หากทุกท่านได้หันมาปฎิบัติธรรม ท่านก็จะทราบด้วยตัวของท่านเองว่า
การปฎิบัติธรรมนั้น ทำให้สามารถ รู้แจ้ง เห็นจริง ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


การวางท่าฝึกสมาธิแบบต่าง
การวางท่าฝึกสมาธิกระทำได้หลายรูปแบบตามความนิยมของ
แต่ละ สำนักปฎิบัติ จะมีวิธีการ ไม่เหมือนกันจะอยู่ใน ท่ายืน
ท่าเดิน ท่านั่ง ท่านอน สามารถปฎิบัติทำได้ทั้งนั้น
ขอให้ผู้ปฎิบัติ รู้สึกสบายๆ ตัว ไม่ปวดเมื่อยการฝึก
การวางท่าฝึกสมาธิ ที่นิยมกันมีดังนี้
๑. ท่านั่งสมาธิ
ลักษณะการวางท่านั่งสมาธิที่กระทำกันนั้นต้อง คำนึงถึงว่านั่งอย่างไร
จึงจะสนับสนุนการปฏิบัติจิตได้มากที่สุด ท่านเว่ยหลางได้กล่าวแก่สาวกว่า
 ให้ทำธยาน หมายถึงให้นั่งอย่างท่านั่งของชาวอินเดีย คือ การนั่งอย่างขัดสมาธิ
นั่งอย่างนี้เหมือนกับมีเบาะรองไม่เจ็บกระดูก ส่วนใดที่ถูกพื้น ไม่เจ็บกระดูก
 กล้ามเนื้อทั้งหมดรองรับไว้ มีลักษณะเหมือนพีระมิดไม่มีทางล้ม เป็นลักษณะ
การนั่งที่มั่นคง นั่งได้ทนที่สุด การหายใจเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย การหมุนเวียน
ของโลหิตเป็นไปโดยสม่ำเสมอ การนั่งสมาธิแบ่งออกตามลักษณะต่างกัน คือ


ท่านั่งแบบชาวอียิปต์(EGYPTION POSTURE)
ลักษณะการวางท่านั่งแบบชาวอียิปต์ เป็นท่านั่งบนเก้าอี้ หลังตรง
วางมือและเท้าตามสบาย การวางขาควรวางให้ห่างจากเก้าอี้พอประมาณ
ใบหน้าหันหน้าตรงและควรวางเก้าอี้ให้ได้ระดับกับแนวราบ ท่านั่งแบบนี้
ช่วยให้การหายใจสะดวกสบายมากเหมาะสำหรับคนอ้วน คนพิการ หรือ
ผู้ที่ไม่ถนัดในการนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ และกำหนดจิตให้อยู่ใน
อารมณ์ของกัมมัฏฐานเช่นนั้นตลอดไป (ดูภาพที่ )


ท่านั่งแบบสบาย(EASY POSTURE)
ท่านั่งแบบสบาย ลักษณะที่
ป็นลักษณะการวางท่านั่งที่กระทำง่ายที่สุดคล้ายกับท่านั่งขัดสมาธิที่
นั่ง ไขว้ขากันคือขาขวาทับขาซ้าย เป็นการนั่งแบบเก็บเข่า หลังตรง
ใบหน้าตรงได้ระดับที่แตกต่างจากท่านั่งสมาธิเพชรคือ การวางมือ
มือซ้ายทับมือขวาและนิ้วทั้งสองข้างประสานกัน ถือว่าเป็นท่านั่งสมาธิ
ที่สมบูรณ์ นั่งได้นาน ไม่รู้สึกเมื่อย ขณะที่กำหนดลมหายใจเข้าและหายใจออก
อย่างมีสติ อาจจะเปลี่ยนไขว้ขาได้ ขวาทับซ้าย เปลี่ยนเป็นซ้ายทับขวา อาจจะเรียก
ท่านั่งแบบนี้ว่าเป็นท่านั่งแบบพม่า (BURMESE POSTURE) (ดูภาพที่ ๒)
      

 
ท่านั่งแบบสบายลักษณะที่ ๒
เป็นท่านั่งที่กระทำ ง่ายที่สุด สบายที่สุดแบบหนึ่ง อยู่ในลักษณะท่านั่ง               
ไขว้ขาเล็กน้อย   มือขวาท้าวคาง โค้งลำตัวตามสบาย ลืมตา
หลับตาเพ่งความคิดเป็นเรื่องๆไป    เปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความเคยชิน
ไม่มีท่า ไม่มีทางใดๆแน่นอน เพียงเพ่งพิจารณา   จนเห็นแจ้ง เห็นจริงในดวงจิต
เห็นกฎธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปลงตก กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์
ของกรรมฐานโดยสมบูรณ์ (ดูภาพที่ ๓ )
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: ท่านั่งสบาย.jpg
Views: 39
Size: 13.3 KB
ID: 1408417

ท่านั่งสมาธิแบบญี่ปุ่นและแบบดอกบัว ท่านั่งแบบญี่ปุ่น (JAPANESE POSTURE)

ป็นท่านั่งคล้ายๆกับการนั่งพับเพียบเก็บ   เข่าทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างวางบนเข่า
 ใบหน้าตรง ลืมตาตั้งตัวตรง เป็นท่าที่นิยม    กันมากในประเทศญี่ปุ่น
และในประเทศอินเดีย ตามหลักการฝึกโยคะนั้นถือว่าท่านี้             
เป็นท่าที่เริ่มต้นไปสู่ท่าอื่นๆ ท่านี้จะเหมาะกับบางคนที่ไม่ถนัดตาม
ท่าที่ ๑.๑ และ ๑.๒    เป็นท่าที่นั่งบนที่นุ่ม เช่น ผ้ารองนั่ง เสื่อ หรือ พรหม
และกำหนดจิตอยู่ในอารมณ์  ของ  กรรมฐานได้โดย สมบูรณ์ (ดูภาพที่ ๔)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.gif
Views: 39
Size: 12.7 KB
ID: 1408460คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 42
Size: 5.5 KB
ID: 1408459

ท่านั่งแบบดอกบัว (LOTUS POSTURE)
ลักษณะการวางท่านั่งสมาธิแบบดอกบัวเป็นท่าที่ดัดแปลงมา
จากท่าฝึกโยคะปัทมาสนะ (PADMASNA) ลักษณะการวางท่า นั่งบนพื้น ตั้งตัวตรง
หลับตาหรือลืมตายกเท้าขวาวางบนตักซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นมาขัดบนเท้าขวา
และบนตักขวา ดึงส้นเท้าขึ้นให้ชิดท้องได้มากเท่าใด ก็จะรู้สึกสบายได้มากเท่านั้น
ท่านี้เป็นท่าที่สะดวกแก่การกำหนดลมหายใจมากที่สุด เวลาหายใจให้หายใจ
สม่ำเสมอ ให้จิตสงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว กำหนดให้สงบนิ่ง รวมอยู่ในดวงจิต
อย่างเดียวเท่านั้นจนเกิดอารมณ์ของกรรมฐานได้ต่อไป (ดูภาพที่ ๕)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 42
Size: 7.5 KB
ID: 1408479 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 4.jpg
Views: 42
Size: 8.3 KB
ID: 1408480 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 5.jpg
Views: 43
Size: 6.8 KB
ID: 1408481

ท่านั่งขัดสมาธิเพชร

เป็นท่านั่งสมาธิที่นิยมปฏิบัติกันมากที่สุดในประเทศไทย
หรือเรียกว่า “ท่านั่งคู่บัลลัง ค์” หรือ “ท่านั่งพับพนัญ เชิง”
คือ เอาขาซ้ายวางลงข้างล่างเอาขาขวาวางทับข้างบน
 เอามือซ้ายวางลงข้างล่างบนตัก เอามือขวาวางซ้อนทับลงไป
ให้หัวแม่มือชนหัวแม่มือ อย่างเช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ ตั้งกายให้ตรง
ตั้งใบหน้าตรง ดำรงสติให้มั่น ถ้าตรงเกินไปรู้สึกไม่สบายก็ผ่อนหาผ่อน
จนรู้สึกสบายขนาดไหนก็ยึดเอาขนาดนั้น ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ
หลับตาพอปิดสนิท หุบปากปล่อยอารมณ์ว่างทั้งหมด เพื่อเป็นการรวมจิต
เอาไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปทางอื่น

ท่านั่งแบบนี้มีลักษณะเหมือนรูปพีระมิด มีฐานเป็นสามเหลี่ยม
เมื่อนั่งได้ที่แล้วก็ลองกำหนดลมหายใจเข้าออก หรือกำหนดพร้อม
กับคำบริกรรมภาวนา พุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา อะระหัง
แล้วแต่ถนัด กำหนดอยู่ในลักษณะท่านั่งอย่างมีสติเช่นนี้
ตลอดไปจนพบกับความสงบจิตในขณะ นั้น
อยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานต่อไป (ดูภาพที่ ๖)

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.jpg
Views: 39
Size: 9.5 KB
ID: 1408493คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 37
Size: 8.1 KB
ID: 1408492
 
 
 

๒.ท่ายืนสมาธิ

ลักษณะการวางท่ายืนสมาธิ ท่ายืนอาจจะเปลี่ยนมาจากท่านั่ง ท่าเดินหรือท่านอนก็ได้
เพื่อเปลี่ยนอริยาบถในการฝึกสมาธิ การวางมือหรือการวางท่าทางก็อยู่ในลักษณะเดียว
กับแบบเริ่มต้นเดินจงกรม คือเอามือซ้ายวางลงที่ท้องน้อย เอามือขวาทับยืนให้ตรง
พอสบายกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูก บริกรรมภาวนา ถ้าหลับตาจะมีอาการโยกโคลง
ให้ลืมตาทอดสายตาออกไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก
กำหนดคำบริกรรมภาวนาเช่นเดียวกับท่านั่ง เช่น พุธโธๆๆๆ
ขณะที่บริกรรมภาวนานั้น ให้กำหนดจิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมตลอดเวลา
กำหนดเป็นสิ่งเดียว รูปเดียว อย่างเดียว ในการรับรู้อารมณ์ จนพบว่าจิตเข้า
สภาวะสงบไม่หนีสติไปสู่สติอารมณ์ตามธรรมชาติ ดวงจิตสงบสว่างมีอำนาจเหนือจิต
เกิดขึ้นในอารมณ์สมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานได้ (ดูภาพที่ ๗)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 36
Size: 7.8 KB
ID: 1408499 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 4.jpg
Views: 38
Size: 13.9 KB
ID: 1408500
 ๓. ท่าเดินจงกรม
ท่าเดินสมาธิมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “เดิน จงกรม”
 การฝึกสมาธิในลักษณะการวางท่าเดินนั้นเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าอื่นๆมา
เช่นเปลี่ยนจากการนั่ง มายืน และ เดิน การเดินจงกรมนั้น
ก็แล้วแต่สถานที่ ถ้าสถานที่ยาวก็เดินไประยะยาว สถานที่สั้น
ก็เดินระยะสั้น โดยทั่วไปใช้ระยะทางเดินประมาณ ๒๕ ก้าว
ระยะทางยาวเกินไปไม่ดี  ระยะทางสั้น
เกินไปก็เวียนศรีษะ การเดินต้องกำหนดระยะสายตาที่ต้องมองไปข้างหน้าเป็นระยะห่าง ๔ ศอก
และต้องกำหนดระยะห่างให้พอเหมาะ กับความรู้สึกของตน
และบริกรรมพุทโธ ตามจังหวะการก้าว
ของเท้าไปเรื่อยๆจนจิตเป็นสมาธิ (ดูภาพที่ ๘)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 5.jpg
Views: 37
Size: 5.6 KB
ID: 1408506 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 6.jpg
Views: 38
Size: 11.0 KB
ID: 1408507
 


 
 
 
 



๔. ท่านอนสมาธิ
เป็นท่าที่ใช้ต่อเนื่องจากการนั่ง การยืน และการเดิน เป็นลักษณะที่ต่อเนื่องกันโดยสมบูรณ์
มิได้กำหนดว่าในการสมาธิจิตครั้งหนึ่ง จะต้องกระทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่อย่างเดียว อาจจะกระทำต่อเนื่องกันไปจนกว่าจิตจะเจริญสมาธิ และ เจริญปัญญา
ซึ่งจะใช้กี่ท่าใช้เวลาเท่าใดก็สุดแต่จิตของแต่ละบุคคล การวางท่าฝึกแบบท่านอน
ให้นอนตะแคงขวาเอามือขวาซ้อนเข้าไปที่แก้มขวา แล้วก็เอามือซ้ายวางราบไปตามตัว
ขาเหยียดไปให้ตรง ถ้าหากเหยียดตรงไปมากอาจจะรู้สึกไม่สบาย ก็ขยับคู้เข้ามานิดหน่อย
พอเกิดความสบาย และสามารถจะอยู่ในลักษณะเช่นนั้นต่อไปโดยจิตบริกรรมภาวนาจน
เจริญสมาธิและ เจริญวิปัสสนา ( ดูภาพที่ ๙)
 

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 7.jpg
Views: 42
Size: 9.6 KB
ID: 1408521


การกำหนดลมหายใจเข้าและออกด้วยสติ
นอกจากท่า ทางในการทำสมาธิแล้ว ลมหายใจก็เป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะช่วยให้จิตเข้าสู่อารมณ์สมถะได้ช้า
หรือเร็ว ถ้าลมหายใจละเอียดลมหายใจยาว อารมณ์จะดี ร่างกายปกติ
การเจริญสมถะและ การเจริญวิปัสสนาก็พัฒนาไดดี
การนำลมหายใจเข้า หายใจออก ให้ยาว
ต้องใช้สตินำเข้าและนำออก ( ดูภาพที่ ๑๐ )

 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 51
Size: 9.6 KB
ID: 1408523
 
 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.jpg
Views: 43
Size: 17.8 KB
ID: 1408524

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แสงสีออร่า (ตอนที่ ๒ )
จากเหตุผลดังกล่าวภายหลัง ภายหลังที่ข้าพเจ้า
ได้มีโอกาสไปเที่ยวงานพลังจิตวิทยาศาสตร์
ที่ห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า ซึ่งข้าพเจ้าอยาก
ทราบว่าแสงออร่าพื้นฐานของข้าพเจ้า
ตรงกับการคำนวนหรือไม่ จึงตัดสินใจ
ลองถ่ายรูปด้วยกล้องที่สามารถถ่ายแสงออร่าได้

ก็ปรากฎว่าภาพดังกล่าวแสงออร่า ในตัวของข้าพเจ้า
ตรงกับการคำนวนได้แสงสีน้ำเงินเช่นกัน
และอุปนิสัยโดยส่วนรวมก็ตรงตามนั้น
ดังภาพประกอบต่อไปนี้



นปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์แสงออร่าว่าเกิดจากการที่อะตอมของสารต่างๆ
เกิดการสั่นสะเทือนโดยอิเลกตรอนที่วิ่งรอบๆแกนอะตอม และเมื่อมีการเคลื่อนที่ก็มีการ
รับ
และส่งพลังงานออกมาเพื่อให้ตัวเองมีเสถียรภาพพลังงานที่ปล่อยออกมาจะออกมาในรูปแสง
และคลื่นเสียงออร่าเป็นผลพวงจาก กระบวนการดังกล่าวในปัจจุบันมีการบันทึกภาพออร่าด้วย
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าเทคนิคแบบเกอร์เลี่ยน
ซึ่งเป็นชื่อของผู้ค้นพบชาวรัสเซียผู้หนึ่งและปัจจุบันได้พัฒนาเทคนิคนี้
จนเป็นที่ยอมรับโดย
นักวิทยาศาสตรได้ใช้ภาพถ่ายเกอร์เลี่ยนนี้ในการศึกษาพลังของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะพลังอำนาจ
ของชีวิต เช่น ใช้ในการวิเคราะห์โรค ตรวจอำนาจหรือคุณสมบัติบางประการในวัตถุหรือสสาร
(วิเคราะห์จากสเปคตัม)ดังนั้นในวัตถุสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตล้วนก็มีพลังงานทั้งสิ้นฉะนั้น
จึงมีผลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโลก สีออร่าที่แผ่รัศมีออกจากวัตถุนั้นจะเป็นการสื่อว่า
วัตถุชนิดนั้นๆ มีสภาพเป็นเช่นไร จึงมีการจำแนกสีเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดให้เกิดความเข้าใจ
ถึงสถานภาพของวัตถุนั้นๆซี่งในปัจจุบันนี้ก็สามารถดูแสงออร่าจากร่างกายได้โดยใช้กล้อง
ที่สามารถถ่ายแสงออร่า นำมาถ่ายกับแต่ละบุคคล ทำให้ทราบแสงออร่าของตนเองได้เช่นกัน







หลังจากนั้นข้าพเจ้า จึงเริ่ม ฝึกสมาธิขั้นต้น เพื่อให้รู้เรื่องดังกล่าวมากขึ้น
โดยเริ่มแรกข้าพเจ้า
ก็ฝึกสมาธิเหมือนบุคคลทั่วไป และก็ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไปด้วยบ้าง 
 เพื่อเลือกวิธี ที่เหมาะสมกับตนเอง ให้มากที่สุด ข้าพเจ้าเริ่มจากฝึกสมาธิ เหมือนที่ทุกคน
เคยเรียนกันสมัยเมื่อยังเด็ก นั่งในท่าขัดสมาธิ หายใจเข้า ( พุท) หายใจออก ( โธ )

ซึ่งเริ่มแรกข้าพเจ้ารู้สึกเมื่อยมาก เวลานั่งในท่าขัดสมาธิ ทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ ทำให้ข้าพเจ้า 
จึงเริ่มอ่าน เรื่องของการวิปัสนากรรมฐานว่ามี กี่ ชนิด สามารถปฏิบัติได้อย่างไร
ในที่สุดข้าพเจ้า จึงค้นพบว่า ตัวเองควรเริ่มจาก ในท่านอนสมาธิ
เมื่อจิตมั่นคงแล้ว จึงหันกับมาในท่านั่งสมาธิ และฝึกมโนยิทธิ  
และรู้สึกว่าเหมาะกับตัวของข้าพเจ้ามากกว่า  
จึงเริ่มหันมาปฎิบัติอย่างจริงจังตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
 
เมื่อข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัตินานมากขึ้น ก็พบว่าแสงสีออร่าสามารถเปลี่ยนได้ตามลำดับขั้นของสี
จากนิมิตสีที่ ๑ สีเขียวตองอ่อน เริ่มหายไป แต่ข้าพเจ้าพบว่านิมิตสีที่ ๒ เริ่มเข้ามา 
 ในเวลาที่ข้าพเจ้าทรงสมาธิ เปลี่ยนสีออกไป เป็นเหมือนสีเหลืองทอง สีเดิมทีข้าพเจ้าเคย
เห็นก็ไม่เห็นอีก หลังจากนั้นก็ยังคงปฎิบัติไปเรื่อยๆ
 
ก็พบว่า นิมิตสีก็เปลี่ยนไปอีก เป็นนิมิต สีที่๓ เหมือนสีแดง แต่ไม่ใช่สีแดงสด 
 เหมือนสีแดงผสมสีส้ม ข้าพเจ้าก็ยิ่งสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สีนิมิต 
 จึงเปลี่ยนไปจากสีเดิม ที่เคยเห็นก็ไม่เห็นอีกเช่นเคย ก็ปฎิบัติไปเรื่อยๆ
 ก็พบนิมิตสีเปลี่ยนไปอีกในแสงอ่อร่า ตอนนี้สีทีข้าพเจ้าเห็น
 
นิมิตสีที่ ๔ เป็นสีขาวนวลเงินสว่าง ก็ปฎิบัติไปเรื่อยๆ นิมิตสีที่ ๔ ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นอีก
 ก็เห็นนิมิตสีใหม่ เป็นนิมิตสีที่ ๕ เหมือนสีชมพูบานเย็น นิมิตสีที่ ๔ ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นอีกเช่นเคย 
แต่ก็ยังคงปฎิบัติต่อไป จนไม่แน่ใจตัวเองเหมือนกัน



จนตอนหลัง ได้มีความรู้บางอย่างจากผู้อื่นว่า การฝึกสมาธิสามารถใช้ลูกแก้วช่วยได้
อาศัยพุทธคุณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีอยู่วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นแสงออร่า รวมตัวกันเหมือน 
 นิมิตเหมือนสีฟ้าครามผสม เหมือนหลายสี ซึ่งข้าพเจ้าเห็นสว่างมาก และใสวาว
ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรกัน นี่คือนิมิตสี ๖ สีสุดท้าย ที่ข้าพเจ้าได้ พบเห็นจากการ ฝึกสมาธิ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังสงสัยอยู่ว่า คือ สิ่งใด จนกระทั่ง ข้าพเจ้าไปพบหนังสือเล่มหนึ่ง
จึงพบคำตอบว่า นิมิตที่ข้าพเจ้าเห็นนั้น หน้าจะเป็นแสงสีออร่า ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือที่พุทธศาสนิกชน เรียกว่า ฉัพพรรณรังสีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๖ ประการ

ฉัพพรรณรังสีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓ โลหิตะ แดงเหมือนตะวันอ่อน
๔. โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฎฐะ สีหงสบาทเหมือนอกหงอนไก่
๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก


เมื่อพระโลกนารถทรงพิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุม พระโลหิตผ่องใส
วัตถุรูปก็ผ่องใส พระฉวีวรรณ ก็ผ่องใส บังเกิดเป็นฉัพพรรณรังสีเปล่งออกจาก
พระวรกายของพระพุทธเจ้า
" ทรงบรรลุพระสัพพญุตญาณ "

ในปุริมยาม ( ยามต้น ) พระโพธิสัตว์ทรงระลึกถึงบุพชาติเป็นอนันต์ ด้วยอำนาจแห่ง
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ในมัชฌิมยาม ( ยามกลาง ) ทรงบรรลุจตุปปาตญาณและอนาคตตังสญาณ

เห็นแจ้งจุติและปฎิสนธิแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งทิพย์จักษุญาณ
และในที่สุดแห่งปัจฉิมยาม ( ยามสุดท้าย ) พระองค์ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ 

 ทรงตรังรู้เห็นแจ้งในอริยสัจจ์ ๔ สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เข้าถึงความหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชาสวะ ชาติสิ้นแล้ว 

 ทรงประพฤติพรหมจรรย์จบสิ้นแล้ว


 








แสงสีออร่า (ตอนที่ ๑ )
มีความหมายดังนี้     



แสงเรืองสี ที่มนุษย์เรียกว่า แสงออร่า ( aura )หรือการเปล่งรังสีแสง
หรือรัศมีเรืองรองบางอย่างออกมารอบตัวเอง อาจจะเป็นแสงเรืองสีต่างๆ กัน
ซึ่งตาเปล่าไม่สามารถมองเห็น หรือเป็นรังสีที่ตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นได้
แต่สามารถมองเห็นได้ ด้วย ทางพุทธศาสนา เรียกว่าทิพย์จักษุ
ก็ได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะได้มาจากการ

ตามทฤษฎี ของ ดร. แนนตัวร์ โฟตัวร์ นักจิตวิทยาผู้หนึ่ง ได้อธิบายไว้ว่า
พวกนักบุญ หรือ ผู้ชำนาญการทางศาสนาทางตะวันตก ได้จำแนก
ลักษณะของแสงออร่า ประกอบด้วย 4 ประเภท ดังนี้

๑.แบบ นิมบัส
( Nimbus )คือ แบบที่มีการแผ่รังสีออกมา
ในลักษณะ
รังสีทรงกลด จะเป็นรัศมีทรงกลดเหนือศีรษะ

๒.แบบ ฮาโล
( Halo )คือ แบบที่มีการแผ่รังสีออกมาในลักษณะ
รังสีวงเหลว
จะเป็นรัศมีแผ่ออกมา รอบศีรษะ
๓.แบบ ออริโอลา
( Aureola )คือ แบบที่มีการแผ่รังสีออกมา
ในลักษณะ
รังสีเปลวเพลิงทรงกลด

๔.แบบ กลอรี
( Glory)คือ แบบที่มีการแผ่รังสีออกมาในลักษณะ
  แสงเรืองรองเปล่งปลั่งแผ่ออกมารอบร่างกาย ส่วนมากบุคคล
ทีมีแสงลักษณะดังกล่าวนี้
มักเป็นคนมีบุญวาสนาสสูงส่งมาก
หรือไม่ จะเป็นบุคคลที่เป็นพระศาสดาผู้บรรลุธรรมบารมีชั้นสูง





ปฏิบัติธรรม หรือติดตัวแต่ละบุคคลมาแต่ในอดีตชาติ จากการสะสมบุญ
หรือ บำเพ็ญเพียรภาวนา
ได้มาแล้วจากอดีต
การเปล่งรังสีเหล่านี้
มีความเข้มข้น แตกต่างกันไป แล้วแต่ในแต่ละบุคคล

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะปรากฏเข้มข้นเฉิดฉายมากในบุคคลที่มี
พัฒนาการทางจิตอย่างสูง
และรองลงมาจะมีรังสีแจ่มกระจ่าง
ในบุคคลที่มีจิตใจ
อยู่ในสภาวะปิติเบิกบานอยู่เสมอๆ

ปรากฏการณ์ แสงออร่า จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางจิต
วิญญาณ เสียเป็นส่วนใหญ่


ความหมายของออร่าในแต่ละสี
๑. สีชมพูหมายถึง พลังที่แจ่มใส เต็มไปด้วยความรัก อารมณ์ขัน
ถ่อมตน
และสามารถปลอบประโลมผู้อื่นได้
โรแมนติก มักจะพบในเด็ก
และผู้ใหญ่
ที่มีจิตใจดีมีเมตตาต่อเพื่อมนุษย์ หญิงมีครรภ์ ก็มีสีชมพูออก
มามาก
เช่นกัน ข้อเสียของคนที่มีแสงสีนี้ คือ มักจะเป็นคนโลเล

. สีแดง หมายถึง เต็มไปด้วยพลังงาน มีความทะเยอทะยาน มีความกระฉับกระเฉง
และพลังทางเพศ อารมณ์
รุนแรง ถ้าในร่างกายมีสีแดงสด แสดงว่า
มีความภาคภูมิใจ
และทะเยอทะยานทางที่ถูกที่ควร แต่ถ้าเป็น สีแดงขุ่น
เป็นบุคคลที่มีจิตใจโหดร้าย

๓. สีส้มหรือสีแสด หมายถึง มีความกระฉับกระเฉงว่องไว มีความสุข
สุขภาพเต็มไปด้วยพลัง
บุคคลที่มีแสงสีนี้มากไป จะกลายเป็นเย่อหยิ่ง
สีนี้ยังเป็นสีที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
แต่ถ้าสีส้มมัวหม่น
หรือส้ม
ออกปนน้ำตาล แสดงว่า สติปัญญาต่ำ ถ้าสีส้มแดงมากเกินไป

เป็นบุคคลเย่อหยิ่ง อวดฉลาด เป็นต้น
๔. สีเหลือง หมายถึง สีที่มองเห็นง่ายที่สุดในออร่า เป็นสีของความฉลาด
มีความเมตตากรุณา
มองโลกในแง่ดี รักเพื่อมนุษย์ นอกจากนี้เป็นสีของ
ภูมิคุ้มกันโรค สีเหลืองส้มแดง บุคคลนั้น
มีความฉลาดปลาดเปรื่อง
สีเหลืองขุ่นข้น บุคคลนั้นมีความอิจฉาริษยา หรือความคลางแคลงใจ

๕. สีเขียว หมายถึง สีของจิตใจที่มีความละเอียดอ่อน มีความเข้าใจผู้อื่น
นอกจากนั้นเป็นสีของความรัก
การเปลี่ยนแปลง การรักษาโรค ความสนใจ
ในการใช้มือ และยังเป็นสีที่แสดงความสมดุล สีเขียวสดใส
แสดงว่าเป็นบุคคล
ปรับตัวเก่งในสังคม ใจดี ชอบอิสระ ถ้าเป็นสีเขียวมืด เป็นบุคคลที่ชอบคดโกงอิจฉาริษยา
สีเขียวอมฟ้า บุคคลที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่นไว้วางใจได้ เข้าอกเข้าใจ
ผู้อื่น และยังแสดงถึงความสามารถในการรักษาโรค ส่วนสีเขียวขี้ม้า
เป็นบุคคลชอบหลอกลวงผู้อื่น ตระหนี่ เป็นต้น

๖. สีน้ำเงิน หมายถึง สีของความสงบและสัจจะ เป็นสีของการสื่อสารพลังจิต
ความฉลาด ความมีอุดมคติ
สามารถยืนหยัดด้วยตัวเอง ความขยันขันแข็ง
และความสำเร็จ ความเชื่อมั่นในตนเองและความซื่อตรง
จริงใจและชอบ
ช่วยเหลือผู้อื่น หรือเป็นบุคคลสมถะ แต่อารมณ์หงุดหงิดง่าย
สีน้ำเงินขุ่น
แสดงว่า
บุคคลนั้นทัศนวิสัยถูกปิดกั้น เป็นบุคคลวิตกกังวลบ่อย
หรือหลงลืมบ่อย
เป็นต้น

๗. สีคราม หมายถึง สีของพลังจิต สัมผัสที่ 6 โทรจิต มีความฉลาดล้ำลึก
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
มีความจริงใจ
เป็นบุคคลชอบค้นหาสัจจะธรรมความจริง
ของชีวิต

๘. สีม่วง หมายถึง บุคคลที่จิตใจละเอียดอ่อน เป็นตัวของตัวเอง มีสัมผัสที่ 6 ของทางสมาธิ

 และมีความโน้มเอียงในทางศาสนา ชอบเรื่องลี้ลับ คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีสีนี้ผู้ที่มีสีนี้
มักจะมีพลังจิตสูง แต่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับ
บริเวณท้อง เนื่องจากจักระช่วงบนพัฒนาล้ำหน้า
จักระช่วงล่าง

๙. สีน้ำตาล หมายถึง สีที่แสดงถึงความคิดแคบๆ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เห็นแก่ตัว
ชอบคุยแต่เรื่องของตนเอง เป็นคนน่าเบื่อ สีน้ำตาล
ยังเป็นสีของจักระ พลังธรณี และอดีตที่ผ่านมา เป็นสีของความขยัน
ขันแข็ง ความมีระเบียบ และมุ่งมั่นที่จะให้สู่จุดหมายและความสำเร็จ


๑๐.
สีดำ หมายถึง การสิ้นสุดของสถานการณ์หนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้สถานการณ์ใหม่เข้ามา
คือการเกิดใหม่
หรือความล่าช้าก็ได้ สุขภาพมีโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังการปกป้องตัวเองจาก
พลังภายนอก หรือผู้นั้นอาจจะมี
ความลับ ถ้าสีดำเกิดปะปนอยู่ในสีอื่นๆ

เช่น ผสมอยู่กับสีแดง บุคคลนั้นมีความโกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท ผสมสีเหลือง บุคคลนั้น
มีความคิดชั่วร้าย ผสมสีเขียว บุคคลนั้นมีความคิดหักหลัง
และริษยา

๑๑.สีขาว หมายถึง แสงสีที่มีความสมดุล และสมบูรณ์มากที่สุด
จะปรากฎกับพวกนักบุญ
พระภิกษุ หรือผู้ผึกสมาธิวิปัสนากรรมฐาน
อย่างสม่ำเสมอ ถ้าปรากฎเป็นเส้นแสงสีขาว
ผ่านเข้ามาในแสง
คือ
การได้รับข่าวสารจากมิติอื่นเข้ามา พวกที่เป็นคนทรง มีจะมีสีขาว

เข้ามาในระหว่างการเข้าทรง ผู้ที่มีสีขาวปรากฎในออร่า จะพบว่า
มีการชำระล่างร่างกาย
และฟอกจิตใจให้ขาวบริสุทธิ์ บุคคลที่มีความคิด

ริเริ่มสร้างสรรค์และบริสุทธิ์
๑๒. สีน้ำเงิน หมายถึง แรงบันดาลใจ หรือข่าวสารข้อมูลจาก

โลกวิญญาณ หรือจากมิติอื่น
๑๓. สีทอง หมายถึง พลังจักรวาลหรือพลังจากองค์เทพที่เข้ามา

ช่วยถ่ายโรคออกจากร่างกาย
๑๔. สีเทา หมายถึง พวกขาดจินตนาการ ความคิดล้าสมัย หัวโบราณ

 ยึดถือความคิดตนเป็นใหญ่ เจ้าระเบียบ เป็นสีเทามืด แสดงถึงอารมณ์ที่เหี่ยวเฉา
จิตใจสลดหดหู่ บุคคลพวกนี้มักจะว้าเหว่
มีสีนี้ในสีอื่น แสดงว่า
มีความคิด
ในแง่ลบ ได้แก่ ความเกลียด เคลียดแค้น หรือแม้แต่ บุคคลเหล่านี้
อาจเป็นฆาตกรได้

 สีเทาค่อนไปทางสีน้ำเงิน แสดงถึงสมองซีกขวา
ได้รับการกระตุ้นก่อให้เกิด
จินตนาการและสัมผัสที่ ๖

สีที่ไม่ค่อยปรากฎอยู่ด้วยกัน คือ สีน้ำเงินกับสีแสด ถ้าผู้ใดมีสองสีนี้ อยู่ด้วยกัน
จะเป็นบุคคล
ที่น่าอิจฉา เพราะสีน้ำเงินแสดงถึงความสงบ ส่วนสีแดงแสดงถึงความสุข
ถ้ารวมกันก็คือ บุคคลนั้นจะมีแต่ความสงบสุขทางจิตใจ ส่วนใหญ่
จะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า ๘ ขวบ และในผู้ใหญ่บางรายที่รักษาโรคด้วย
พลังจิต
พวกนี้มักจะมีความสมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มี ๒ สี
นี้ปรากฎในสีของออร่า


รื่องราว เกี่ยวกับแสงออร่ามิใช่มีอยู่เฉพาะทางซีกโลกตะวันตกเท่านั้น
หากทางโลกซีกตะวันออก
อย่างประเทศไทย ของพวกเรานั้น
ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่าทางซีกโลกตะวันตกเสียอีก
จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเข้าญาณ
( Theosophists )

ของทางซีกโลกตะวันออก ได้จำแนกลักษณะ ของรังสีแสงออร่า

มนุษย์ไว้ ๕ ลักษณะ ดังนี้
๑. สุขภาวะรังสี ( Health aura )
๒. กรรมรังสี ( Karmic aura)
๓. ชีวรังสี ( Vital aura )
๔. บุคคลลักษณะรังสี ( Aura of Character )
๕. วิญญาณรังสี ( Aura of Spiritual nature )
นอกจากนี้ยังระบุไว้อีกด้วยว่า สีสันของแสงออร่า จะเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะอารมณ์ เช่น
สีแสด ส้ม เป็นสีที่บ่งบอก ถึงจิตที่มีสภาะอารมณ์โกรธ หรือ เกลียดชัง และถูกกดดัน
สีแดงเข้มคล้ำ
จะเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์ขุ่นข้องหมองใจ อยู่ในโทสะจริต หรือกำลังลุ่มหลง
ด้วยความโลภ และราคะ
สีน้ำตาล จะเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์ตระหนี่ หรือหึงหวง สีแดงดอกกุหลาบเกิดขึ้น เมื่ออยู่ในอารมณ์ความรัก ความใคร่ทางกามรมณ์
สีเหลืองจะเกิดขึ้น เมื่อมีอารมณ์เป็นกลาง หรือในขณะใช้ความคิดทางสติปัญญญา

สีม่วงจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดอารมณ์สงบ วิเวก สีน้ำเงินจะเกิดขึ้น
เมื่อปรากฏจิตศรัทธาและเชื่อมั่นในรสพระธรรม










มนุษย์ทุกคน ย่อมมีความอยากรู้ว่า ตนเองมีสีแสงออร่าใดเป็นพื้นฐาน น้อยคนนักที่จะเห็น
ได้ด้วยตัวเอง หากคุณยังไม่สามารถวิปัสนากรรมฐาน และได้ทิพย์จักขุ จากการปฎิบัติ 
แต่เราจะทราบได้อย่างไรใน เมื่อแสงออร่าเต็มไปด้วยสีสัน แต่ถ้าคุณมองแสงออร่าทั้งหมดแล้ว
 จะเห็นได้ว่า เมื่อมีแสงสีใดสีหนึ่งเด่นชัดที่สุด ในแสงที่ปรากฏอยู่ ( แล้วมีสีอื่นมาเจือปน
 สีนี้เป็นสีพื้นฐานของออร่า เป็นสีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต มักจะบ่งบอกถึงศักยภาพ 
ของตัวคุณเอง ว่าควรใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อนำเอาศักยภาพนี้ มาสร้างความสำเร็จและความสุข
ให้กับชีวิตของตัวคุณเอง การคำนวนพื้นฐานสีของออร่า ในตัวคุณสามารถทำได้อย่างไร
 ถ้าคุณยังไม่สามารถเห็นแสงสี ออร่าของตัวคุณเอง คุณจะทราบได้อย่างไร
ว่าคุณมีแสงออร่าพื้นฐานสีอย่างไร ดังนั้นเราจะแนะนำการคำนวนหาแสงสีออร่า
ในตัวคุณอย่างง่ายจากการคำนวนดังกล่าว และผลที่ออกมาสามารถเชื่อถือได้พอสมควร

                                  วิธีการคำนวนแสงสีออร่าขั้นพื้นฐาน
นำวัน เดือน ปี ค.ศ. ที่เกิดมาบวกกัน ปีนี้ต้องเป็นปี ค.ศ. เท่านั้น ถ้าคุณไม่ทราบว่าคุณเกิด ปี ค.ศ. เท่าไร ก็ให้เอา ๕๔๓ ไปลบออก จากปี พ.ศ. ที่คุณเกิด จะได้ปี ค.ศ. ที่คุณต้องการ
เช่น พ.ศ. ๒๕๑๔ เอา ๕๔๓ ไปลบออก จะได้ปี ค.ศ. ๑๙๗๑
สมมุติว่า คุณเกิดวันที่ ๒๙ เดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๙๗๑
ก็เอาตัวเลขทั้งหมดมาบวกรวมกัน ให้ได้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขตัวเดียวดังนี้
(เอาเลขวันเกิด + เดือนเกิด = ได้จำนวนเท่าไร ) + ( ปีที่เกิด ค.ศ. )
( ๒๙+= ๓๒) + ( ๑๙๗๑) = ๒๐๐๓
นำตัวเลขดังกล่าว มาบวกกันทั้งหมด ( ++๐ + ) =
ดังนั้นสีพื้นฐานออร่า เป็นเลข ๕ สีน้ำเงิน นำมาเปรียบเทียบกับ
แสงสีออร่าข้างล่างนี้


ความหมายสีของออร่า

๑. สีแดง สีแห่งศักยภาพ ความเป็นผู้นำ มีความกระตือรือร้น
เต็มไปด้วยพลังงาน
มีความกระฉับกระเฉง มีเสน่ห์
สามารถพูดจา
โน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้ดี มีความสนุกสนาน
โอบอ้อมอารี
กล้าหาญ ทะเยอทะยาน มองโลกในแง่ดี
ชอบการแข่งขัน
เป็นสีซึ่งนำมา
ซึ่งความสำเร็จ คุณควรหาอะไรทำท้ายความสามารถ
ต้องพิจารณาให้ได้ตาม
ความเหมาะสม

- ข้อเสีย มักจะขี้กังวล ตื่นตระหนก และอาจหลงตัวเอง รวมทั้งอาจ
จะบ้างานจนเครียด
ควรจะหาเวลา พักผ่อนคลายคลียด

๒. สีสัม , สีแสด สีแห่งศักยภาพ ความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
คุณเป็นคนอบอุ่น น่าคบหาสมาคม
เข้ากับคนอื่นได้
ง่าย
ชอบเป็นที่ปรึกษาให้ใครต่อใคร ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
และทำตัวให้เป็นประโยชน์
อยู่เสมอ มีจิตใจเป็น
สมถะ
ชอบปิดทองหลังพระ
คุณควรคบกับคนที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน
ไม่งั้นคนอื่นจะเอาเปรียบคุณ
- ข้อเสีย ขี้เกียจ ใจน้อย มักถูกคนเอาเปรียบ
๓. สีเหลือง สีแห่งศักยภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฉลาด
คุณเป็นคนคิดอะไรรวดเร็ว
มีความกระตือรือร้น อยู่เสมอเข้าสังคมง่าย
ปรับตัวเก่ง ชอบคุยถกเถียงปัญหา ชอบเรียนรู้
และทำอะไรหลายๆ อย่าง
ในเวลาเดียวกัน
มีพรสวรรค์ด้านการพูด งานที่ทำควรเกี่ยวกับ
การพูด
เป็นสื่อ เช่น ครูเซลล์แมน นักการฑูต ที่ปรึกษา หรืองาน
อาชีพที่ต้อง
ใช้การพูดเป็นหลัก
เป็นคนฉลาดหลักแหลม และเรียนรู้อะไรได้รวดเร็ว

- ข้อเสีย จับจด ขี้อาย โกหกเก่ง
๔. สีเขียว สีแห่งศักยภาพ สีเขียวเป็นสีแห่งการรักษาโรค เป็นคนรักสงบ
ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิตไว้วางใจได้ คุณอาจจะมีลักษณะ
ภายนอกหงิม ๆ
หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกๆ เป็นคนดื้อเงียบ
คุณเป็นพวกนักเอา
เบาสู้

- ข้อเสีย ดื้อรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

. สีน้ำเงิน สีแห่งศักยภาพ สามารถทำได้ทุกอย่าง คุณเป็นพวกมองโลก
ในแง่ดี
แม้ชีวิตจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไปบ้างแต่ยังยิ้มสู้เสมอ แสงสีออร่าของคุณ
จึงกว้าง
และสว่างไสวเสมอ ทำให้กระชุ่มกระชวย ดูอ่อนกว่าวัย
คุณมี ความจริงใจ ซื่อสัตย์ ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิด
สร้างสรรค์ และมีจินตนาการชอบพบปะผู้คน
และสนใจการแลก
เปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน

- ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน
จึงกลายเป็นคนจับจด
ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างเดียว

นอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรรองเท้า และขาดความอดทนด้วย

๖. สีคราม สีแห่งศักยภาพ มีความรับผิดชอบสูง คุณชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์
ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ชอบ
รับผิดชอบงานด้านจิตใจโอบอ้อมอารี
เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่เห็นแก่ตัว

- ข้อเสีย เป็นคนปฏิเสธใครไม่เป็น ควรหาเวลาเป็นตัวของตัวเองบ้าง
มีมาตรฐานการทำงานสูง
จึงหมัก หงุดหงิดกับอะไรๆ
  ที่ไม่ได้มาตรฐานของตนเอง
๗. สีม่วง สีแห่งศักยภาพ ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน
 สนใจในศาสตร์ลึบลับ จนบางครั้งดู เหมือนเป็นคนลึกลับ
คุณมีประสาทสัมผัสที่ ๖
รักสันโดษจนดูเหมือนจะเข้ากับใครไม่ได้

- ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกส่วนตัวมากเกินไป
. สีชมพู สีแห่งศักยภาพ นักบริหาร นักธุรกิจ คุณมีความตั้งใจจริง
 ต่ค่อนข้างดื้อรั้น วางมาตรฐานตัวเองไว้สูงมีความเด็ดเดี่ยว และมุ่งมั่นที่
จะให้บรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ อาชีพของคุณจึงต้องเกี่ยวกับ
การบริหาร
และความรับผิดชอบ ในส่วนลึกเป็นคนโรแมนติค
และอ่อนน้อมถ่อมตน
รักความสงบมีเมตตา ในขณะ
เดียวกัน
จะยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ยอมท้อถอย
ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก

- ข้อเสีย มุ่งงานมากเกินไปจนเกิดความเครียด
  ควรหางานอดิเรกคลายเคลียดบ้าง
๙. สีเหลืองทอง สีแห่งศักยภาพ นักสังคมสงเคราะห์
คุณเป็นคนอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นทั้งนักปราชญ์
และเป็นคนมีคุณธรรมเต็มเปี่ยม คุณเป็นคนมีความสุขมากที่สุด
  เมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผล
ตอบแทน
เป็นคนมีความสุขและมองโลกในแง่ดี

หมายเหตุ ข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไมแสงสีออร่าที่ ๑๐
จึงไม่มีคำตอบ
จากการค้นคว้า หาความรู้ ข้าพเจ้าจึงขออนุญาต
(
ยกเว้นสีที่ ๑๐ ไว้จากข้อมูลอ้างอิง การคำนวนของแสงสีออร่า )
๑๑. สีเงิน สีแห่งศักยภาพ นักอุดมคติ มีประสาทสัมผัสที่ ๖ มีศักยภาพสูง
ในหลายๆ ด้าน
เต็มไปด้วยความคิด
แปลกใหม่ ชอบฝันหวาน แต่คุณมัก
จะฝันมากกว่าลงมือทำจริงๆ
เป็นคนซื่อสัตย์ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง

มองโลกในแง่ดี ถ้าคุณมุมานะสร้างความฝันให้เป็นจริง
  คุณจะไปได้ไกลมากทีเดียว
- ข้อเสีย เกียจคร้าน และบางครั้งเครียดจนใครๆ ไม่กล้าเข้าใกล้
ควรหาเวลาพักผ่อน
ฝึกสมาธิ หรือโยคะ

๑๒. สีทอง สีแห่งศักยภาพ ไม่จำกัดขอบเขต คุณสามารถทำเรื่องใหญ่
ให้กลายเป็นเรื่องเล็กๆ
คุณจะประสบ ผลสำเร็จเกือบทุกเรื่อง
เป็นคนมีเสน่ห์ สามารถทำงานและไม่ย่อท้อ
 มีเป้าหมายในการทำงานที่แน่นอนมีอุดมคติ และมีความสามารถสูง มีความเป็นผู้นำ
และสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้
อนึ่ง วิธีการคำนวน แสงสีออร่าพื้นฐานนี้ ไม่ได้ถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พอจะเชื่อได้พอสมควร
แสงสีของออร่านั้น นอกจากมองด้วยตาเปล่าแล้ว ยังสามารถมองด้วยจิต สีที่ปรากฎมักจะแสดงถึงโรคหรือปัญหาการรักษาโรค ด้วยวิธีการสัมผัสแสง เวลาสัมผัสจะมีทั้งสีและภาพปรากฎขึ้น สีและภาพนี้
แม้ผู้สัมผัสผู้ทำการรักษาจะเห็นแสง แต่ผู้ถูกรักษาอาจจะไม่เห็นแสง
เพราะต้องอาศัย
พลังจิตหรือญาน
เท่านั้น ดังนั้นผู้ทำการรักษาจะเป็น
ผู้บอกอาการ และวิธีรักษา
ปัจจุบันนี้ก็มีแพทย์ทางเลือกใหม่
ทาง
ด้านพลังจิตเพื่อใช้การรักษาโรค กับผู้ที่ต้องการรักษา
กับท่านเหล่านั้น เป็นต้น

ตัวอย่างแสงสีออร่า