วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หลวงปู่พระสุพรหมยาน
( พรหมา  พรหมจักโก )



วัดพระพุทธบาทตากผ้า  

จังหวัดลำพูน ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ครูบามีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร ถือกำเนิด
เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐
 (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
(ป่าซางปัจจุบัน) เป็นบุตรของคุณพ่อเป็ง และคุณแม่ บัวถา
มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๗ โดยพี่น้องของครูบา
ต่อมาได้บวชเป็นพระตลอดชีวิต จำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ พี่ชายคนที่ ๖ ของท่าน
คือ พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา) และ น้องชายคนที่ ๘ คือ
พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)






บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ
ไม่มีการยิงนก ตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยัน
ถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลาน โดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล
 ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ
 
บิดาท่าน ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ส่วนมารดาของท่าน ได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ
ตลอดอายุได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐
 
 

เมื่อ เด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน งานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว
ปัดกวาดทำความ สะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดา
เท่าที่พอจะทำ ได้ตามวิสัยของเด็กครูบาพรหม มาได้เรียนหนังสืออักษรลานนา
และไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวช เรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้น
ตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะ เขียนก็หายาก
ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยาก
แก่การเล่าเรียน อาศัยความ ตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครูบาได้ขอบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง
อำเภอปากบ่วง (ป่าซางใน ปัจจุบัน) .ลำพูน โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย
เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่ออายุครบบวช จึงได้ทำการ อุปสมบท ณ วัดป่าเหียง
 เมื่อวันที่ ๑๖ ม.. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า"พรหมจักโก" ซึ่งท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน
และได้สอบ ผ่านนักธรรมในปี พ..๒๔๖๒

อายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.. ๒๔๖๔
เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจ
กราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติ พี่น้องเพื่อออกไปอยู่ป่า
บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย
ซึ่งตั้งอยู่ ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ
๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย)
ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์ พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง)
ได้กรุณาติดตามไปอีกท่านหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง
บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี
พอออกพรรษาท่าน ครูบาพร้อมคณะที่ติดตามได้พากันเดินทางกลับมาคาราวะ
พระอุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่าน พระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า
พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำ
และผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญ
สมณธรรม ให้เต็มความสามารถน้อมจิตไปในทางปฏิบัติ
ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ
เดินทางเข้าไปเขตพม่าและจำพรรษา อยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี
หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษา
กระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี  เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร
อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉัน ภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์
ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา
 
ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์
ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันท์ภัตตาหาร ๑ - ๒ วัน

ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตร ปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด

หลังจากที่ท่านได้เดินธุดงค์ไปตามป่าและตามนิคมหลายที่หลาย
แห่งเป็นเวลานานหลายสิบปี ได้รับ ความสุข ความทุกข์ทรมาน
ได้ผ่านประสบการณ์มามากต่อมากแล้ว ท่านก็ได้มาพักอยู่วัดป่าหนองเจดีย์
ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี
ตามคำนิมนต์ของครูบาอาจารย์ ญาติโยม ได้มาประจำอยู่ที่นั้น ๔ พรรษา
หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อันเป็น ปูชนียสถานสำคัญ
แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาตั้งพันกว่าปีได้ อยู่ได้พรรษาเดียวก็ได้
ย้ายไปอยู่ป่าม่อนมะหิน ประจำอยู่ที่นั่น ๒ พรรษาแล้วได้ย้ายไปอยู่วัดป่าหนอง
เจดีย์อีก ๒ พรรษา

 
พ..๒๔๙๑ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ท่านจะชราภาพ
และได้จำพรรษาในวัดเป็นประจำแล้ว แต่ท่านยังถือธุดงค์ศรัทธา เป็นประจำ
ในฤดูแล้งปีไหนมีโอกาส ท่านก็อุตส่าห์พาภิกษุสามเณรไปเดินธุดงค์อยู่ตามป่า
หรือป่าช้า เป็นครั้งคราว เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ทราบปฏิปทาในการเดินธุดงค์
แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดพระพุทธ บาทตากผ้า บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ยังวัด

ท่านพร่ำ สอนลูกศิษย์ลูกหาให้อยู่ในศีลธรรม จัดตั้งสำนักโรงเรียนพระปริยัติ
 นักธรรมบาลี จัดตั้งสำนัก ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน พัฒนาวัดพระพุทธบาท
ตากผ้าให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่า เป็นวัด พัฒนาตัวอย่างที่มีความ
สำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญ บารมี
คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพระภิกษุสงฆ์
สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาประชาชนทุกเพศทุกวัยทั้งในประเทศ
และนานาประเทศ
 
พระครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก ทรงไว้ซึ่งคุณแห่งพระสุปฏิปันโน
พระอริยสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง มีจริยาวัตร
อันงดงาม มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด มีปฏิปทาอันอุดมและมั่นคง
บำเพ็ญสมณธรรมอยู่เนืองนิจ คือผู้นำประโยชน์ความสุข
ความสงบให้เกิดแก่หมู่คณะ ทรงไว้คือสังฆรัตนะคุณควรบูชาสักการะ
แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

มรณภาพ

 
ครูบาเจ้าพรหมจักรได้บำเพ็ญสมณธรรมจนเข้าสู่วัยชราภาพ
 สังขารของท่านชำรุดทรุดโทรมไปตาม กาลเวลา อาการเจ็บไข้ได้ป่วย
จึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ท่านครูบาเจ้าได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาล
 นครเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านครูบาท่านจะละสังขาร ท่านครูบาได้ตื่นจากจำวัด 
ต่เช้าปฏิบัติธรรมตาม กิจวัตร เมื่อถึงเวลาท่านลุกนั่งสมาธิ
สำรวมจิตตั้งมั่นสงบระงับ  ครูบาเจ้าพรหมจักรได้ดับขันธ์ (มรณภาพ)
ในท่านั่งสมาธิภานา เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗
เวลา ๐๖.๐๐ น.อายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา
คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล

ป็นเวลา ๓ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ  

วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนิน
พระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วย
 
 
พระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิ
ของครูบาเจ้าพรหมจักรได้กลาย เป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี
 
ธรรมโอวาท


. คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ

๒. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ท่านทั้งหลายจงเก็บกำข้อธรรมะไว้ประจำจิต
ประจำใจธรรมะที่ควรตั้งไว้ ในจิตในใจนั้น ท่านแสดงไว้ ๔ ประการด้วยกัน

ข้อ ๑. ปัญญา ความรอบรู้
 
ข้อ ๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
 
ข้อ ๓. จาคะ สละสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
 
ข้อ ๔. อุปปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบ
 
รวมเป็น ๔ ประการด้วยกัน

ท่านทั้งหลาย ธรรมะ ๔ ประการนี้ ท่านเรียกว่า อธิษฐานธรรม
คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี ๔ อย่าง ตามใจความที่ได้กล่าวมานี้ 

    

   

ไม่มีความคิดเห็น: