วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียนรู้สมาธิจากการปฏิบัติ

 

ข้าพเจ้าเป็นผู้บุคคลหนึ่ง ที่เริ่มหันมาปฎิบัติธรรม จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
นเรื่องแสงสีออร่า โดยข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติสมาธิขั้นต้น เหมือนบุคคลทั่วไป
จากการศึกษาสมัยเด็กที่เราได้ศึกษามาจากโรงเรียน
การนั่งขัดสมาธิ
การกำหนดลมหายใจเข้า ( พุท ) หายใจออก ( โธ )

แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าวิธีดังกล่าว ไม่สามารถทำให้ข้าพเจ้าพัฒนา
ได้เท่าที่ควรจากการปฏิบัติ
เพราะรู้สึกว่าจิตของข้าพเจ้าไม่สงบนิ่ง 

เพราะรู้สึกปวดเมื่อยจากการนั่งสมาธิ ทำให้ข้าพเจ้าอยากทราบว่า  
มีวิธีใดบ้างที่สามารถปฎิบัติสมาธิได้เร็วขึ้น ดังนั้นข้าพเจ้าจึง 
ศึกษาหาความรู้ด้านสมาธิเพิ่มเติม ปรากฏว่าวิธีการ
ใช้ฝึกสมาธิ มีด้วยกันหลายรูปแบบ หลายวิธีการ


วิธีการฝึกสมาธิ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิเท่านั้น
มีท่าสมาธิหลากหลายท่า

ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด ดังนั้นข้าพเจ้า พบว่า ท่าฝึกสมาธิ
ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน ท่านั่งเท่านั้นสามารถใช้ “ ท่านอนก็ได้ ” แต่กำหนดจิตให้นิ่ง
รู้ตัวและตื่นตัวตลอดเวลา เหมือนเรานอนหลับ แต่เรานั้นไม่ได้หลับ จิตกำหนดอยู่ที่
ลมหายใจเท่านั้น และรู้สึกไม่ปวดเมื่อยเหมือนอย่างที่เคยพบว่าวิธีนี้ปฎิบัติสมาธิ
ได้เร็วกว่า ข้าพเจ้าจึงหันมาใช้วิธี กำหนดลมหายใจ การฝึกสมาธิแบบ “ มโนยิทธิ ”
รู้สึกเหมาะสมกับข้าพเจ้ามากกว่า ข้าพเจ้าจึงใช้วิธีดังกล่าวในการปฏิบัติสมาธิ
ภายหลังรู้สึกว่าหลังจากการปฏิบัติจะทรงสมาธิได้ดีขึ้น


นิมิตเกี่ยวกับสี ก็พัฒนาเร็วขึ้นตามลำดับ หลังจากการปฎิบัติดังกล่าว
ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติได้ดีขึ้น ข้าพเจ้าสามารถทรงสมาธิได้ดี ข้าพเจ้าจึงหันกลับ
มาปฎิบัติใน “ ท่านั่งทรงสมาธิ ภายหลังอีกครั้ง
ก็สามารถทำได้

และมีสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า เป็นวิธีสำหรับผู้ปฎิบัติสมาธิมือใหม่
อย่างข้าพเจ้า สามารถนำไปฝึกฝนได้ ผู้เขียนอาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านสมาธิและวิปัสนากรรมฐานด้านสมาธิชั้นสูง หรือเป็นผู้ทรงญาณ
ในระดับสูง เป็นผู้ที่เริ่มจากการปฏิบัติด้วยตนเอง
 


จึงนำความรู้ดังกล่าว มาเป็นประสบการณ์ ให้กับสาธุชนทั้งหลายที่สามารถ
ฎิบัติตามได้ แต่หากท่านผู้อ่านต้องการความรู้ลึกซึ้งกว่านี้ ควรจะปรึกษาพระภิกษุสงฆ์
หรือผู้ปฎิบัติที่ได้ทรงญานในระดับสูง เป็นผู้ให้ความรู้เพิ่มเติม ให้คำแนะนำต่อไปใน
ระดับสูงขึ้น เพื่อเลือกวิธีการที่ฝึกปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง ของแต่ละตัวบุคคล
จะได้ปฎิบัติได้ถูกต้องตามแนวทางนั้นๆ ดังนั้นผู้เขียนจะขอกล่าวในระดับที่ตนเองปฎิบัติอยู่
หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ตัวเองได้ประสบและค้นคว้ามาประกอบในการปฎิบัติสมาธิครั้งนี้

หากวิธีการของข้าพเจ้า สามารถทำให้ท่านทั้งหลาย ปฎิบัติสมาธิได้ดีขึ้น ข้าพเจ้าก็ขอ
โมทนาบุญกับสาธุชนทั้งหลายด้วย การจะปฎิบัติได้เร็วหรือช้านั้น บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ
บุญวาสนาของแต่ละบุคคลที่ถูกสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ และติดตัวมา
กับแต่ละบุคคลนั้นๆ ที่ทำการสะสมผลบุญบารมีมาแต่ก่อนมาช้านาน แต่หากสาธุชน
ทั้งหลายปฎิบัติได้ช้าก็มิเป็นไรอย่าท้อแท้ใจกับสิ่งนั้น ก็ควรหมั่นสะสมบุญบารมี
ตั้งแต่ชาตินี้ภพนี้ ไปถึงภพหน้า 

เพราะข้าพเจ้าคิดว่า สักวันหนึ่งผลบุญบารมีที่ถูกสั่งสมมา จะส่งผลให้ทุกท่านปฎิบัติได้ดีขึ้น 
และอาจจะได้รู้ ได้เห็น สิ่งที่ไม่เคยเห็น และสามารถเห็นได้และค้นพบ สัจจะธรรมความจริง
ด้วยตัวของท่านเองเหมือนที่ผู้เขียน ได้เห็นแสงออร่า 

“ แสงฉัพพรรณรังสีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ก็สามารถจะพบดวงตาเห็นธรรมได้เช่นกัน
ถึงแม้ผู้เขียน 

ไม่ได้ถึงระดับผู้ทรงญานชั้นสูง แต่ข้าพเจ้าก็พึงพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เพราะทำให้ข้าพเจ้า 
ได้ค้นพบความจริงอีกหลายเรื่อง และสามารถหาคำตอบมาพิสูจน์กันได้ เกี่ยวกับพุทธานุภาพ
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากการปฎิบัติ และจากทรษฎีความเป็นจริง ซึ่งสาธุชนทั้งหลาย
ก็สามารถประจักษ์ได้หากทุกท่านได้หันมาปฎิบัติธรรม ท่านก็จะทราบด้วยตัวของท่านเองว่า
การปฎิบัติธรรมนั้น ทำให้สามารถ รู้แจ้ง เห็นจริง ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


การวางท่าฝึกสมาธิแบบต่าง
การวางท่าฝึกสมาธิกระทำได้หลายรูปแบบตามความนิยมของ
แต่ละ สำนักปฎิบัติ จะมีวิธีการ ไม่เหมือนกันจะอยู่ใน ท่ายืน
ท่าเดิน ท่านั่ง ท่านอน สามารถปฎิบัติทำได้ทั้งนั้น
ขอให้ผู้ปฎิบัติ รู้สึกสบายๆ ตัว ไม่ปวดเมื่อยการฝึก
การวางท่าฝึกสมาธิ ที่นิยมกันมีดังนี้
๑. ท่านั่งสมาธิ
ลักษณะการวางท่านั่งสมาธิที่กระทำกันนั้นต้อง คำนึงถึงว่านั่งอย่างไร
จึงจะสนับสนุนการปฏิบัติจิตได้มากที่สุด ท่านเว่ยหลางได้กล่าวแก่สาวกว่า
 ให้ทำธยาน หมายถึงให้นั่งอย่างท่านั่งของชาวอินเดีย คือ การนั่งอย่างขัดสมาธิ
นั่งอย่างนี้เหมือนกับมีเบาะรองไม่เจ็บกระดูก ส่วนใดที่ถูกพื้น ไม่เจ็บกระดูก
 กล้ามเนื้อทั้งหมดรองรับไว้ มีลักษณะเหมือนพีระมิดไม่มีทางล้ม เป็นลักษณะ
การนั่งที่มั่นคง นั่งได้ทนที่สุด การหายใจเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย การหมุนเวียน
ของโลหิตเป็นไปโดยสม่ำเสมอ การนั่งสมาธิแบ่งออกตามลักษณะต่างกัน คือ


ท่านั่งแบบชาวอียิปต์(EGYPTION POSTURE)
ลักษณะการวางท่านั่งแบบชาวอียิปต์ เป็นท่านั่งบนเก้าอี้ หลังตรง
วางมือและเท้าตามสบาย การวางขาควรวางให้ห่างจากเก้าอี้พอประมาณ
ใบหน้าหันหน้าตรงและควรวางเก้าอี้ให้ได้ระดับกับแนวราบ ท่านั่งแบบนี้
ช่วยให้การหายใจสะดวกสบายมากเหมาะสำหรับคนอ้วน คนพิการ หรือ
ผู้ที่ไม่ถนัดในการนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ และกำหนดจิตให้อยู่ใน
อารมณ์ของกัมมัฏฐานเช่นนั้นตลอดไป (ดูภาพที่ )


ท่านั่งแบบสบาย(EASY POSTURE)
ท่านั่งแบบสบาย ลักษณะที่
ป็นลักษณะการวางท่านั่งที่กระทำง่ายที่สุดคล้ายกับท่านั่งขัดสมาธิที่
นั่ง ไขว้ขากันคือขาขวาทับขาซ้าย เป็นการนั่งแบบเก็บเข่า หลังตรง
ใบหน้าตรงได้ระดับที่แตกต่างจากท่านั่งสมาธิเพชรคือ การวางมือ
มือซ้ายทับมือขวาและนิ้วทั้งสองข้างประสานกัน ถือว่าเป็นท่านั่งสมาธิ
ที่สมบูรณ์ นั่งได้นาน ไม่รู้สึกเมื่อย ขณะที่กำหนดลมหายใจเข้าและหายใจออก
อย่างมีสติ อาจจะเปลี่ยนไขว้ขาได้ ขวาทับซ้าย เปลี่ยนเป็นซ้ายทับขวา อาจจะเรียก
ท่านั่งแบบนี้ว่าเป็นท่านั่งแบบพม่า (BURMESE POSTURE) (ดูภาพที่ ๒)
      

 
ท่านั่งแบบสบายลักษณะที่ ๒
เป็นท่านั่งที่กระทำ ง่ายที่สุด สบายที่สุดแบบหนึ่ง อยู่ในลักษณะท่านั่ง               
ไขว้ขาเล็กน้อย   มือขวาท้าวคาง โค้งลำตัวตามสบาย ลืมตา
หลับตาเพ่งความคิดเป็นเรื่องๆไป    เปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความเคยชิน
ไม่มีท่า ไม่มีทางใดๆแน่นอน เพียงเพ่งพิจารณา   จนเห็นแจ้ง เห็นจริงในดวงจิต
เห็นกฎธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปลงตก กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์
ของกรรมฐานโดยสมบูรณ์ (ดูภาพที่ ๓ )
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: ท่านั่งสบาย.jpg
Views: 39
Size: 13.3 KB
ID: 1408417

ท่านั่งสมาธิแบบญี่ปุ่นและแบบดอกบัว ท่านั่งแบบญี่ปุ่น (JAPANESE POSTURE)

ป็นท่านั่งคล้ายๆกับการนั่งพับเพียบเก็บ   เข่าทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างวางบนเข่า
 ใบหน้าตรง ลืมตาตั้งตัวตรง เป็นท่าที่นิยม    กันมากในประเทศญี่ปุ่น
และในประเทศอินเดีย ตามหลักการฝึกโยคะนั้นถือว่าท่านี้             
เป็นท่าที่เริ่มต้นไปสู่ท่าอื่นๆ ท่านี้จะเหมาะกับบางคนที่ไม่ถนัดตาม
ท่าที่ ๑.๑ และ ๑.๒    เป็นท่าที่นั่งบนที่นุ่ม เช่น ผ้ารองนั่ง เสื่อ หรือ พรหม
และกำหนดจิตอยู่ในอารมณ์  ของ  กรรมฐานได้โดย สมบูรณ์ (ดูภาพที่ ๔)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.gif
Views: 39
Size: 12.7 KB
ID: 1408460คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 42
Size: 5.5 KB
ID: 1408459

ท่านั่งแบบดอกบัว (LOTUS POSTURE)
ลักษณะการวางท่านั่งสมาธิแบบดอกบัวเป็นท่าที่ดัดแปลงมา
จากท่าฝึกโยคะปัทมาสนะ (PADMASNA) ลักษณะการวางท่า นั่งบนพื้น ตั้งตัวตรง
หลับตาหรือลืมตายกเท้าขวาวางบนตักซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นมาขัดบนเท้าขวา
และบนตักขวา ดึงส้นเท้าขึ้นให้ชิดท้องได้มากเท่าใด ก็จะรู้สึกสบายได้มากเท่านั้น
ท่านี้เป็นท่าที่สะดวกแก่การกำหนดลมหายใจมากที่สุด เวลาหายใจให้หายใจ
สม่ำเสมอ ให้จิตสงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว กำหนดให้สงบนิ่ง รวมอยู่ในดวงจิต
อย่างเดียวเท่านั้นจนเกิดอารมณ์ของกรรมฐานได้ต่อไป (ดูภาพที่ ๕)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 42
Size: 7.5 KB
ID: 1408479 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 4.jpg
Views: 42
Size: 8.3 KB
ID: 1408480 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 5.jpg
Views: 43
Size: 6.8 KB
ID: 1408481

ท่านั่งขัดสมาธิเพชร

เป็นท่านั่งสมาธิที่นิยมปฏิบัติกันมากที่สุดในประเทศไทย
หรือเรียกว่า “ท่านั่งคู่บัลลัง ค์” หรือ “ท่านั่งพับพนัญ เชิง”
คือ เอาขาซ้ายวางลงข้างล่างเอาขาขวาวางทับข้างบน
 เอามือซ้ายวางลงข้างล่างบนตัก เอามือขวาวางซ้อนทับลงไป
ให้หัวแม่มือชนหัวแม่มือ อย่างเช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ ตั้งกายให้ตรง
ตั้งใบหน้าตรง ดำรงสติให้มั่น ถ้าตรงเกินไปรู้สึกไม่สบายก็ผ่อนหาผ่อน
จนรู้สึกสบายขนาดไหนก็ยึดเอาขนาดนั้น ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ
หลับตาพอปิดสนิท หุบปากปล่อยอารมณ์ว่างทั้งหมด เพื่อเป็นการรวมจิต
เอาไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปทางอื่น

ท่านั่งแบบนี้มีลักษณะเหมือนรูปพีระมิด มีฐานเป็นสามเหลี่ยม
เมื่อนั่งได้ที่แล้วก็ลองกำหนดลมหายใจเข้าออก หรือกำหนดพร้อม
กับคำบริกรรมภาวนา พุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา อะระหัง
แล้วแต่ถนัด กำหนดอยู่ในลักษณะท่านั่งอย่างมีสติเช่นนี้
ตลอดไปจนพบกับความสงบจิตในขณะ นั้น
อยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานต่อไป (ดูภาพที่ ๖)

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.jpg
Views: 39
Size: 9.5 KB
ID: 1408493คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 37
Size: 8.1 KB
ID: 1408492
 
 
 

๒.ท่ายืนสมาธิ

ลักษณะการวางท่ายืนสมาธิ ท่ายืนอาจจะเปลี่ยนมาจากท่านั่ง ท่าเดินหรือท่านอนก็ได้
เพื่อเปลี่ยนอริยาบถในการฝึกสมาธิ การวางมือหรือการวางท่าทางก็อยู่ในลักษณะเดียว
กับแบบเริ่มต้นเดินจงกรม คือเอามือซ้ายวางลงที่ท้องน้อย เอามือขวาทับยืนให้ตรง
พอสบายกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูก บริกรรมภาวนา ถ้าหลับตาจะมีอาการโยกโคลง
ให้ลืมตาทอดสายตาออกไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก
กำหนดคำบริกรรมภาวนาเช่นเดียวกับท่านั่ง เช่น พุธโธๆๆๆ
ขณะที่บริกรรมภาวนานั้น ให้กำหนดจิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมตลอดเวลา
กำหนดเป็นสิ่งเดียว รูปเดียว อย่างเดียว ในการรับรู้อารมณ์ จนพบว่าจิตเข้า
สภาวะสงบไม่หนีสติไปสู่สติอารมณ์ตามธรรมชาติ ดวงจิตสงบสว่างมีอำนาจเหนือจิต
เกิดขึ้นในอารมณ์สมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานได้ (ดูภาพที่ ๗)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 36
Size: 7.8 KB
ID: 1408499 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 4.jpg
Views: 38
Size: 13.9 KB
ID: 1408500
 ๓. ท่าเดินจงกรม
ท่าเดินสมาธิมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “เดิน จงกรม”
 การฝึกสมาธิในลักษณะการวางท่าเดินนั้นเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าอื่นๆมา
เช่นเปลี่ยนจากการนั่ง มายืน และ เดิน การเดินจงกรมนั้น
ก็แล้วแต่สถานที่ ถ้าสถานที่ยาวก็เดินไประยะยาว สถานที่สั้น
ก็เดินระยะสั้น โดยทั่วไปใช้ระยะทางเดินประมาณ ๒๕ ก้าว
ระยะทางยาวเกินไปไม่ดี  ระยะทางสั้น
เกินไปก็เวียนศรีษะ การเดินต้องกำหนดระยะสายตาที่ต้องมองไปข้างหน้าเป็นระยะห่าง ๔ ศอก
และต้องกำหนดระยะห่างให้พอเหมาะ กับความรู้สึกของตน
และบริกรรมพุทโธ ตามจังหวะการก้าว
ของเท้าไปเรื่อยๆจนจิตเป็นสมาธิ (ดูภาพที่ ๘)
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 5.jpg
Views: 37
Size: 5.6 KB
ID: 1408506 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 6.jpg
Views: 38
Size: 11.0 KB
ID: 1408507
 


 
 
 
 



๔. ท่านอนสมาธิ
เป็นท่าที่ใช้ต่อเนื่องจากการนั่ง การยืน และการเดิน เป็นลักษณะที่ต่อเนื่องกันโดยสมบูรณ์
มิได้กำหนดว่าในการสมาธิจิตครั้งหนึ่ง จะต้องกระทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่อย่างเดียว อาจจะกระทำต่อเนื่องกันไปจนกว่าจิตจะเจริญสมาธิ และ เจริญปัญญา
ซึ่งจะใช้กี่ท่าใช้เวลาเท่าใดก็สุดแต่จิตของแต่ละบุคคล การวางท่าฝึกแบบท่านอน
ให้นอนตะแคงขวาเอามือขวาซ้อนเข้าไปที่แก้มขวา แล้วก็เอามือซ้ายวางราบไปตามตัว
ขาเหยียดไปให้ตรง ถ้าหากเหยียดตรงไปมากอาจจะรู้สึกไม่สบาย ก็ขยับคู้เข้ามานิดหน่อย
พอเกิดความสบาย และสามารถจะอยู่ในลักษณะเช่นนั้นต่อไปโดยจิตบริกรรมภาวนาจน
เจริญสมาธิและ เจริญวิปัสสนา ( ดูภาพที่ ๙)
 

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 7.jpg
Views: 42
Size: 9.6 KB
ID: 1408521


การกำหนดลมหายใจเข้าและออกด้วยสติ
นอกจากท่า ทางในการทำสมาธิแล้ว ลมหายใจก็เป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะช่วยให้จิตเข้าสู่อารมณ์สมถะได้ช้า
หรือเร็ว ถ้าลมหายใจละเอียดลมหายใจยาว อารมณ์จะดี ร่างกายปกติ
การเจริญสมถะและ การเจริญวิปัสสนาก็พัฒนาไดดี
การนำลมหายใจเข้า หายใจออก ให้ยาว
ต้องใช้สตินำเข้าและนำออก ( ดูภาพที่ ๑๐ )

 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 51
Size: 9.6 KB
ID: 1408523
 
 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.jpg
Views: 43
Size: 17.8 KB
ID: 1408524

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

การปฏิบัติสมาธิสามารถปฏิบัติได้หลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้นำไปประยุกต์ใช้ต่อตัวท่านเอง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด