วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องพระกรรมฐาน ( ตอนที่ ๒ )

ปรากฏการณ์เมื่อจิตเป็นสมาธิ
เมื่อเพ่งอารมณ์ดีแล้ว ก็จะมีโอกาสเกิดแสงสว่างรุ่งเรือง แสงสว่างนี้

ย่อมส่องสว่าง ให้เห็นเป็นสิ่งของต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในใจ หรือปรากฏใน

มโนทวาร คล้ายคนนอนหลับฝันเห็นอะไรต่างๆ แต่การเห็นในสมาธิ

พิเศษกว่าการเห็นในความฝัน เพราะผู้เห็นผ่านการกลั่นกรองของสติมาก่อน  

ผู้เห็นจึงมีสติ มิได้นอนหลับอยู่ ในขั้นแรกที่เห็น แสงสว่างมักจะหายไปโดยเร็ว
เพราะผู้เห็นเกิดความสะดุ้ง ความสงสัยสนเท่ห์มากขึ้น จิตจึงคลาดเคลื่อนออก

จากสมาธิ เมื่อสำรวมจิตเป็นสมาธิได้อีก ก็คงได้พบแสงสว่างอีก แสงสว่างนี้

ยอมส่องให้เห็นภาพต่างๆ เหมือนอย่างเห็นภาพภายนอกในเวลากลางวัน
เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ก็ยังมืดอยู่ ไม่สามารถมองเห็นภาพอะไรต่างๆได้
เปรียบเหมือน จิตที่ยัง ไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่มีกำลัง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว
 

ก็สามารถมองเห็นภาพอะไรได้ เปรียบเหมือนจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกำลังเกิด
แสงสว่าง สามารถเห็นภาพได้

การที่ได้พบเห็นแสงสว่างในเวลาที่ทำสมาธิ หลับตากำหนดจิต
 
เรียกว่า โอภาสนิมิต การได้เห็นรูปนิมิตที่เกิดขึ้น เล็กน้อยนี้
เรียกว่า อุคคหนิมิต ถ้าผู้เห็นนิมิต สามารถนึกให้รูปนิมิตเหล่านั้น
กลายเป็นรูปขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ความผ่องใสกว่าหลายเท่า
เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

เห็นรูปต่างๆ ไม่มีประมาณ เรียกว่า มหรคตนิมิต
เป็นข้างฝ่าย รูปฌาน เห็นแสงสว่างอย่างเดียวไม่มีรูปนิมิต เป็นบาทฐาน

แห่งอรูปฌาน รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ สองอย่างนี้ เรียกว่า สมาบัติ

อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ



๑. วิจิกิจฉา
ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ

๒. อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึกว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ 
แสงสว่างก็ดับ  
๓. ถีนมิทธะ จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต จิตจึงง่วงเหงาหาวนอน จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ
รูปจึงดับ แสงสว่างจึงดับ
๔. ฉัมภิตัตตะ ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ

แสงสว่างรูปนิมิตจึงดับ  
๕. อุพพิลวิตก ความที่จิต รวมรัดเพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน จิตเคลื่อนที่จากสมาธิ
รูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป  
๖. ทุฏฐัลละ ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดแต่ช้าๆ จิตคลายความเพียรลง เกิดความ
กระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจาก สมาธิรูปนิมิต โอภาสนิมิตจึงดับ 
 ๗. อัจจารัทธวิริยะ กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อน
จากสมาธิรูป แสงสว่างจึงดับไป  

๘. อติลีนวิริยะ กำหนดความเพียรน้อยไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจาก สมาธิรูป แสงสว่างจึงดับไป
๙. อภิชัปปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงดับไป  

๑๐. นานัตตสัญญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็นสองฝ่าย
จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต และโอภาส นิมิตหายไป 
 ๑๑. อตินิชฌายิตัตตะ การเพ่งเล่งรูปมนุษย์อันปราณีต เกิดความยินดี จิตเคลื่อนจาก สมาธิ
รูปแสงสว่างจึงดับ

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 5.jpg
Views: 51
Size: 8.4 KB
ID: 1409265
 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 140
Size: 5.1 KB
ID: 1409285

อารมณ์ของพระปีติธรรม มี ๕ ประการ
๑. พระขุททกาปีติ
ปีติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธิ ขั้นที่๑
๒. พระขณิกาปีติ
ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่๒
๓. พระโอกกันติกาปีติ
ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขนิกสมาธิ ขั้นที่๓
๔. พระอุพเพงคาปีติ
ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขนิกสมาธิ ขั้นที่๔
๕. พระผรณาปีติ
ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขนิกสมาธิ ขั้นที่๕

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 51
Size: 5.5 KB
ID: 1409293

กรรมฐาน มี ๔๐ แบบ แต่สามารถแยกเอาการฝึกออกไปเป็นข้อปลีกย่อยได้มากมาย
แต่ได้นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ได้ ๔ แบบ

หมวดที่ ๑เรียกว่า " สุกขวิปัสสโก " บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฝึกกันเป็นปกติ
หมวดนี้
ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต ไม่สามารถเห็นสวรรค์ เห็นเทวดา เห็นพรหมโลกได้
ไม่สามารถจะไปได้
แต่ว่ามีฌานสมาบัติได้ เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้

หมวดที่ ๒ เรียกว่า " เตวิชโช " หมวดนี้พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว แล้วก็ฝึก
ทิพจักขุญาณเมื่อฝึกทิพจักขุญาณได้แล้ว ต้องเข้าไปฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
คือ ระลึกชาติได้ เมื่อได้ทั้ง ๒ ประการแล้ว ใช้กำลังญาณทั้ง ๒ ประการเข้าช่วย
วิปัสสนาญาณเป็นพระโสดาบันสกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เรียกว่า
" พระวิชชาสาม " หมวดนี้สามารถเห็นสวรรค์ นรก เห็นพรหมโลก หรืออะไรก็ได้ทั้งหมด
แต่ไปไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว นั่งตรงนี้คุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้ นั่งตรงนี้คุย
กับสัตว์นรกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า " วิชชาสาม "

หมวดที่ ๓เรียกว่า" อภิญญาหก หรือ ฉฬภิญโญอภิญญาหกนี่เราไปไหนไปได้
ตามใจชอบ
จะไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน ไปนรก เปรต อสุรกาย ไปได้หมด
ประเทศต่าง ๆ
ไกลแสนไกลแค่ไหน ประเทศในมนุษยโลกนี่มันไม่ไกลหรอก
เราสามารถไปได้ ดวงดาวต่าง ๆ ที่ฝรั่งจะไปเราก็ไปได้ไม่ต้องลงทุน อย่างนี้
เป็น " อภิญญาหก "

หมวดที่ ๔ " ปฏิสัมภิทาญาณ " นี่มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทาญาณ
มีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว เอาวิชชาสาม
เข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิญญาหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะ
ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า" ปฏิสัมภิทาญาณ "


สมาบัติหมายถึง อารมณ์ที่จิตเป็นสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน
ถ้ายังไม่สามารถเข้าในระดับฌาน จะไม่เรียกสมาบัติ แต่จะเรียกว่า“ ขณิกสมาธิ

ขณิกสมาธิหมายถึง ตั้งใจปฎิบัติสมาธิได้เพียงเล็กน้อย ทรงสมาธิไม่ได้นาน
กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ไม่นาน จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึก
คิดอารมณ์ภายนอก คำภาวนามาคิดอารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้
อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอารมณาขาด ๆ บ้างเกินบ้าง

อุปจารสมาธิบางครั้งก็เรียกว่า อุปจารฌาน ก็เรียกเป็นสมาธิที่มี
ความตั้งมั่น ใกล้จะถึงปฐมฌานสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์
สมาธิไว้ได้นานพอสมควรมีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้เป็นพื้นฐานเดิมที่
จะฝึกทิพยจักษุญาณได้อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้

๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนด
รูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร

๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด
มีอาการเคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่
 สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ถ้าเป็นองค์ภาวนาภาวนาครบถ้วนไหม
ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร

๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบานไม่อิ่มไม่เบื่อ
ในการเจริญภาวนาอารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้น
ไม่มืดเหมือนเดิมมีความสว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ
บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราวแต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่า
ขนพองสยองเกล้า
มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง

ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง
บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง
และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอาการของปีติ
ข้อที่ควรสังเกต คืออารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกาย
จะสั่นหวั่นไหว
บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่าง แต่ จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว
มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย
คล่อง
ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้


๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อนไม่เคยปรากฏการณ์
มาก่อนเลยในชีวิตจะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อยอาการปวด
เมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ มีความสุขสำราญตลอดเวลา
สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตก คือ การกำหนดภาวนา
ก็ภาวนาได้

ตลอดเวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น
ก็เป็นไปด้วยดีมีธรรมปีติชุ่มชื่นผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น
ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา
อาการตามที่กล่าว

มาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่าอุปจารสมาธิหรือเรียกว่าอุปจารฌาน
คือเฉียดๆ จะถึง

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขณะปฏิบัติสมาธิอาการต่างย่อมเกิดขึ้นได้ ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ข้างต้นของบทความเรื่องพระกรรมฐาน ซึ่งทุกท่านสามารถอ่านศึกษาได้