วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องพระกรรมฐาน ( ตอนที่ ๓ )


ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน
หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง ดังต่อไปนี้


๑. วิตกจิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกว่าหายใจเข้าหรือออก
ถ้าใช้คำภาวนาก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ
ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก

๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราหายใจเข้า
หรือหายใจออกหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นหายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรค
ท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือ
สะดือนิดหน่อยหายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก ถ้าภาวนา
ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด

ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมาย ภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร

มีสีสันวรรณะ
เป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณ
เปลี่ยนแปลงไป
หรือคงเดิมภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ
หรือภาพหลอน
สอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำดังนี้
เป็นต้น อย่างนี้
รียกว่า วิจาร

๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีตะการ

ไม่คลาดเคลื่อน

ข้อที่ควรสังเกตคือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนา หรือรักษาอารมณ์
ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียงเสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า
ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่โดยไม่รำคาญในเสียง


ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้วตามปกติจิต
ย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่น หูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง
แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ
ที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของ ปฐมฌาน ที่จิตกับกาย
เริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง




ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติทุติยฌาน หมายถึง ฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ
หมายถึง สมาบัติที่๒ ฌานและสมาบัติอารมณ์ทุติยฌาน

๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง

ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตกวิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้
คงเหลือแต่ ปีติ สุขเอกัคคตา

อานิสงส์ทุติยฌาน

ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจ ให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ

เวลาจะทำการงาน ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์
รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุดนอกจากนี้เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดี
ไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌาน ท่านว่าทุติยฌานที่เป็น โลกียฌาน
ให้ผลดังนี้

จตุตถฌานหรือจตุตถสมาบัติ

จตุตถฌาน หมายถึง ฌานที่๔ สำหรับฌานที่๔นี้

ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่เอกัคคตาและเติมอุเบกขาเข้ามาแทน
ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัด
ความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่ ฌาน ๔ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้

จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆเพราะลมละเอียดจน
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย
แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมีแต่ลมหายใจละเอียดจน
ไม่มีความรู้สึกว่าหายใจตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ

๑.คนตาย
๒. คนดำน้ำ
๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔

ข้อสังเกตที่สังเกต

ได้ชัดเจนในจตุตถญาน คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้วและขณะที่ทรงอยู่
ในระดับของฌาน ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ดังนั้นนักปฏิบัติหลายท่านบอกว่า
ไม่เอาแล้ว กลัวเสียชีวิต บางท่านก็เลิกปฏิบัติ เพราะจับลมหายใจไม่ได้

บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อยก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจเมื่ออารมณ์จิตตกลง
ระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ในที่สุดก็พบลมหายใจที่ปรากฏอยู่กับปลาย จมูกนั่นเอง

อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ ดับเสียง
คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้นมีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใดมีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกินริ้น
จะกัด อันตรายใดๆจะเกิด จิตในระหว่าง


ตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
เพราะฌานนี้กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย

ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริงร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจ
เป็นพลังสำคัญของร่างกายพลังอื่นใดหมดไปแต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจยังปรากฏ
ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่าผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยังไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่ เรียกว่า
ผัสสาหารหยุดเมื่อไรเมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย

ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ
ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการ
ของร่างกายเลย








อาการที่จิตแยกจากร่างกาย
เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด
เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน จน
คล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน 4แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่ง

จงปรากฏ
แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่
ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียง
อุปจารฌาน
ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่
มีกายของเราเองปรากฏ
ขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ที่ท่าน เรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย
จะบังคับให้กายในกาย
ท่องเที่ยวไปในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆกายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือน
เดินในถ้ำใหญ่ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆก็ไปได้ตามประสงค์ที่ท่านเรียกว่า

มโนมยิทธิ หมายความว่า มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง พลังของฌาน ๔ มีพลัง
มากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌานแล้วท่านจะฝึกวิชชาสามอภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้นก็ใช้พลังจิตระดับฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการ
ในการเคลื่อนไปเท่านั้นส่วนอารมณ์ที่จะใช้ก็เพียงฌานซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้ว

อานิสงส์ของฌาน ๔

๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่จะมีอารมณ์แช่มชื่น
ตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
๒. ท่านที่ได้ฌาน
สามารถจะทรงวิชชาสามอภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
๓. ท่านที่ได้ฌาน๔ สามารถจะเอาฌาน๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ ชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายในปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน๔ไว้มิให้เสื่อม ขณะตายตายในระหว่างฌานที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ
ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑



รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง๔
อย่างนี้ ท่านเรียกว่า
รูปฌานหรือ รูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จมรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่า
โลกียสมาบัติ หรือโลกียฌานถ้าเจริญวิปัสสนาญาณ จนสำเร็จ มรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ


อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์

๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ
คือไม่รับรู้รับทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ ทั้ง๔ อย่างนี้ เรียกว่า อรูปฌานเพราะการเจริญ

ไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์กำหนด หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่า
อรูปฌาน ถ้าเรียกเป็น สมาบัติ ถ้าเรียก  สมาบัติ


ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ

คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึง การเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเองท่านได้ฌานระดับใดท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกันและท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดาสกิทาคา
อนาคามีอรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ
ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้า
เข้าฌานท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง
กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน
ต่างกันแต่ เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

นิโรธสมาบัติ


นิโรธสมาบัติท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้นและท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อนตั้งแต่ท่านเป็น
โลกียฌาน ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติ
ไม่ได้ต้องได้มรรคผลถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

สมาบัตินี้นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้วยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วยท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติเพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์
ในตอนเช้าพระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้
ผลของสมาบัติ
มีอย่างนี้

๑.นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายากต้องหาเวลาว่างจริงเพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วันใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้
จะได้ผลในวันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น

๒.ผลสมาบัติเป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้าท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์
ในความเป็นอยู่
คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
๓.
ฌานสมาบัติท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติจะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ




การบำเพ็ญสมาธิแบบเดินธาตุเพื่อให้ได้มโนยิทธิ

การบำเพ็ญสมาธิแบบเดินธาตุ ได้แก่การอุทิศเบญจขันธ์ของตนให้เป็นมหาสถูปเจดีย์
อันหอมหวล การบำเพ็ญสมาธิแบบเดินธาตุ ได้แก่การอุทิศเบญจขันธ์ของตนให้เป็น
มหาสถูปเจดีย์อันหอมหวล เรื่องแสง วิเศษ ศักดิ์สิทธิ์ แล้วตั้งจิตอาราธนาธาตุทั้ง ๗
คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ ธาตุจิต ในองค์หรือ
ในดวงพระโพธิญาณของสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ วิเศษ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่า
คุณานุภาพใดๆ ใน ๓ ภพ ให้เสด็จเข้ามาสถิตอยู่ในเบญจขันธ์ตน แล้วผ่านอานุภาพ
บันดาลให้ธาตุทั้ง ๗ ในเบญจขันธ์ของตน มีอิทธิในด้านปราศจากโรคภัย มีพลานามัย
มีความุขกายสบายใจ มีอายุยืน มีเดชอำนาจในตัว มีจิตเข้มแข็งแน่วแน่เป็นหนึ่ง

มีความขลัง ที่สามารถช่วยปลดทุกข์ผู้อื่นได้ จนอาจได้ฌานตามลำดับขั้นและเป็นจิต
ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ มีอิทธิฤทธิ์ทางจิตใจ น้อมอธิษฐาน ให้เกิดผลประการใด จนเกิดผล
ประการนั้นทุกประการ สุดแต่พลังจิตอำนาจวาสนาบารมีในตัวเราการบำเพ็ญสมาธิ
แบบนี้จะทำในอิริยาบถไหนก็ได้ จะนั่งตัวตรง นั่งพิง นอนตะแคง นอนราบ ก็ได้ทั้งนั้น
แต่ควรให้หน้าอกผึ่งผายและสบายตัว หรือจะบำเพ็ญจนนอนหลับไปเลย ในคืนนั้น
ก็ได้ เพราะการนอนหลับเป็นความสุขและเป็นความต้องการของร่างกาย

ตามหลักการธรรมชาติ แพทย์ทั้งหลายก็ให้เหตุผลไว้เช่นนี้ ตื่นนอนแล้วเมื่อมีเวลาว่าง
ค่อยมากำหนดจิตบำเพ็ญใหม่ เพราะเมื่อบำเพ็ญแล้วจะสิ้นกังวล สิ้นเรื่องร้อนใจ
มีแต่ความสงบสุข ดังนั้นการบำเพ็ญแต่ละครั้งอย่าไปอดทนต่อการนอนหลับ
มิฉะนั้นร่างกายจะผิดปกติได้ ควรวางอุเบกขา และตั้งใจบำเพ็ญไปเรื่อยๆ
ในช่วงที่ว่างจากการทำงาน และเวลาที่ไม่ง่วงนอน แล้วท่านทั้งหลายก็จะ
ประสบผลสำเร็จในอนาคต 


วิธีปฏิบัติในการบำเพ็ญสมาธิแบบเดินธาตุ

ขั้นที่ ๑ ให้น้อมจิตตั้งนะโม ๓ จบ ว่าด้วยคาถาพระพุทธคุณ
ขั้นที่ ๒ ให้น้อมจิตพระคาถาพระธรรมคุณ
ขั้นที่ 3 ให้น้อมจิตพระคาถาพระสังฆคุณ
ขั้นที่ ๔ ให้น้อมจิตพระคาถาบูชาพระรัตนตรัย


พระคาถาพระพุทธคุณ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
( กล่าว ๓ จบ )
นะโม ตัสสา ระหันตัสสะ ภะคะวันตัสสะตาทิโน สัมมา สามัง วะ
พุทธัสสะ ธัมเมวิภัชชะวาทิโน อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะ สันปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทธังภะคะวันตังอะภิวาเทมิ ฯ

พุทธัสสานัง นิยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง
หัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
นัตถิ เม สะระณังอัญญัง พุทโธ เม
สะระณะวะรัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเม พุทธัง
เม วันทะมาเนนะ ยังปุญญัง ปะสุตัง อิทะ
สัพเพปิ อันตะรายาเม
มะเหสุง ตัสสะ เตชะสา



พระคาถาพระธรรมคุณ
นะโม ตัสเสวะ ธัมมัสสะ นะยากัสสะ วัตตะโตปะเภทานะวะวีตัสสะ สุอักขาตัสสะ สัจจะโต
สะหวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง

เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ ธัมมังนะมัสสามิ ธัมมัสสาหัง นิยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง
จะริสามิ ธัมมัสเสวะ สุโพธิตัง นัตถิ เม สะระณังอัญญัง ธัมโม เม สะระณังวะรัง เอเตนะ สัจจะ
วัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ ยังปุญญัง ปะสุตัง สัพเพปิ
อันตะรายาเม มะเหสุง ตัสสะ เตชะสา
พระคาถาพระสังฆคุณ
นะโม อะริยะสังฆัสสะ สัญจิภูตัสสะ สัตถุ โน กิเลสานุสะเย สัพเพ ปะหานะ ปะฏิปัตติยา ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลาเอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย

อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตังโลกัสสาติ ฯ
ตังสังฆังอะภิวาเทมิสังฆัสสาหัง นิยาเทมิ สะรีรัฐชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง จะริสสามิ สังฆัสโส ปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณังอัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเม สังฆัง เม วันทะมาเนนะ
ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะรายาเม มะเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ









ส่วนเมื่อชีวิตดับขันธ์ไปแล้ว จิตวิญาณของผู้บรรลุนิพพานเป็น
พระอรหันต์ จะไปสถิตย์อยู่ ณ ห้วงทิพย์ชื่อ นิพพานวิชชาและอภิญญาสมาบัติ
ซึ่งถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต เป็นผลที่ได้มาจากการ ฝึกวิชชามโนยิทธิรวม
กับวิชชาอื่นๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการปกป้องตัวเองและครอบครัวของผู้ปฎิบัติ
และสามารถใช้รักษาช่วยผู้อื่นให้อยู่รอดปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ซึ่งพุทธคุณและความศักดิสิทธิ์ที่บังเกิดขึ้นล้วนมาจากพุทธานุภาพขององค์
พระสัมมาสัม พุทธเจ้าและพระรัตนตรัยทั้งสิ้น

การแบ่งระดับหน้าที่ของผู้ที่จะรับวิชชาดังกล่าวนี้คือ

๑. รับได้ในระดับที่จะช่วยให้ตัวเองไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น

๒. รับได้ในระดับที่จะใช้ปกป้องคุ้มครองตัวเองให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ
และเป็นพุทธบริษัทช่วยสืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป




๓. รับได้ในระดับที่จะใช้ปกป้องคุ้มครองตัวเอง และครอบครัว บริวารให้ปลอดภัย               
และเป็นการสืบสกุลสัมมาทิฏฐิ รักษาพระพุทธศาสนา 

๔. รับได้ในระดับพุทธภูมิ ผู้ตั้งความปรารถนาบำเพ็ญ
บารมีสืบสานต่ออายุ พระศาสนาขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยการอธิษฐานลงมาเกิดในมิคสัญญียุคนี้ เพื่อช่วยมวลหมู่สรรพสัตว์เพื่อ
สร้างบารมี ส่วนใครจะรับวิชชาได้มากน้อยแค่ไหนขึ้น
อยู่กับฟ้า และบุพเพกตบุญญตาของแต่ละท่าน





ระดับของสมาธิ
ท่านมีสมาธิอยู่ที่ระดับต่ำ แต่เมื่อทำการฝึกฝนแล้ว ระดับของสมาธิอาจจะสูงขึ้น
อย่างคาดไม่ถึง ในขณะที่บางท่านมีสมาธิในระดับสูงอยู่แล้ว แต่กลับไม่มีการ

พัฒนาแต่อย่างใดทั้งๆ ที่มีการฝึก เช่นเดียวกัน
๑. บางท่านมีจิตใจใฝ่ความดี ชอบทำบุญแต่ทำสมาธิไม่เป็น ศีลรักษาได้บางข้อ
๒. บางท่านตั้งใจรักษาศีล ทำสมาธิได้บ้างแต่ไม่ค่อยนิ่ง
๓. บางท่านทำบุญ รักษาศีลได้ ทำสมาธิได้ดี นั่งได้นานๆ แต่เสวยแต่สุขจากสมาธิ
ไม่สามารถนำพลังงานจากสมาธิไปใช้ประโยชน์ได้
๔. บางท่านนำพลังสมาธิไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง เช่น อธิษฐานจิตง่ายๆ
รักษาโรคให้ผู้อื่นได้ แต่ยังไม่มีญาณทัศนะ
๕. บางท่านมีสมาธิ ญาณทัศนะและสามารถใช้พลังงานสมาธิทำประโยชน์ได้
๖. บางท่านมีสมาธิ ญาณทัศนะ วิปัสสนาเต็มที่ ได้อภิญญาสมาบัติ
๗. บางท่านมีสมาธิญาณทัศนะ วิปัสสนาเต็มที่ ได้อภิญญาสมาบัติ มีกำลังใจ
เป็นพระอริยโพธิสัตว์


ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อก่อนการฝึกสมาธิ
ท่านเชื่อในสวรรค์ และนรกหรือไม่ ท่านเชื่อผลของกรรม บาปบุญคุณโทษ
หรือไม่ ท่านเชื่อในพุทธคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระรัตนตรัยว่า
มีจริงหรือไม่ ท่านเชื่อในพระคุณของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์
ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชาหรือไม่ ท่านเชื่อในผลของการปฏิบัติ
และมรรคผลนิพพานหรือไม่
หากมีความลังเลสงสัย ไม่เชื่อในข้อใดข้อหนึ่ง
แม้เพียงแต่ข้อเดียว ท่านก็ไม่อยู่ในวิสัย
ที่จะปฏิบัติได้ เนื่องจากเป็นข้อกำหนด
ที่มีแรงครูกำกับอยู่ ส่วนผู้ที่ไม่มีความสงสัยใน
ทุกข้อก็ถือได้ว่าท่านเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ
ซึ่งขอให้ท่านได้อธิษฐานรักษาไว้ให้ได้ทุกชาติ
ตราบเข้าสู่พระนิพพาน

ส่วนท่านที่ยังมีความลังเลสงสัยอยู่ ขอให้หมั่นศึกษาธรรมะให้มากๆ
เมื่อเข้าใจดีแล้ว
ก็จะหมดความสงสัยในเรื่องของสัมมาทิฏฐิเอง และเมื่อไหร่ก็ตาม
ที่ท่านหมดสงสัย แล้วจึงกลับมาศึกษาวิชชาต่อ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตั้ง
เข็มทิศให้ตรงตั้งแต่ต้น เพราะพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้า รวมทั้งพระโพธิสัตว์
ท่านทั้งหลายสอนให้มนุษย์ไปนิพพาน หรือชั้นพรหมและสวรรค์ เพื่อให้เข้าถึง
ไตรสรณ์คมน์และเป็นสัมมาทิฏฐิ




วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำสมาธิ
มีคนจำนวนมากถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ที่บอกว่าการทำสมาธิ
เพราะมีคนบอกว่าทำแล้วจะดี
เหตุผลต่อมา คือ เพื่อให้จิตใจสบาย

มีส่วนน้อยมากที่บอกว่า เพื่อใช้เป็นพื้นฐานและเป็นกำลังในการทำ

ความดี ยิ่งๆ ขึ้นไป อันได้แก่ เพื่อการหลุดพ้น หรือการสร้างบารมีในฐานะ
ที่ปรารถนาพุทธภูมิอันที่จริงแล้ว

การทำสมาธิที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ก็ดี การขาดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ที่ชัดเจนก็ดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ การทำสมาธิอาจไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรได้
หรืออาจวนเวียนย่ำอยู่กับที่ท่านที่พอใจ เพียงพอเท่านั้นก็อาจจะไม่เป็นไร
แต่ท่านที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ ก็อาจจะต้องมาทบทวนจิตใจ
และเป้าหมายในการทำสมาธิใหม่อีกครั้งว่า

ท่านต้องการ อะไรจากการทำสมาธิ เพราะแนวทางการฝึกสมาธิเพื่อเป้าหมายที่
แตกต่างกันนั้น ก็มีการวางอารมณ์ใจหนักเบาที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น การทำสมาธิ
เพื่อหวังให้ใจสบายระดับเป้าหมายนี้ เหมาะกับการฝึกอานาปานสติ และเมื่อจับลม
สบายได้ จำอารมณ์สบายได้ จิตใจก็จะมีความสุขความสบายตามที่ต้องการแล้ว

การสงเคราะห์ทางจิตใจ ให้ธรรมะชี้หนทางในชีวิตการ
ให้กำลังใจการสงเคราะห์ทางกาย ด้วยการใช้พลังสมาธิ
รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆการสงเคราะห์ทางด้านความ
เป็นอยู่ด้วยการ ใช้กำลังสมาธิและอธิษฐาน ให้ผู้ที่ต้องการ
ความช่วยเหลือ มีความคล่องตัว มีสภาพการเงินที่ดีขึ้น
แต่ผู้ที่จะสงเคราะห์ผู้อื่น ควรเป็นผู้ ที่มีศีลสะอาดบริสุทธิ์
มีความตั้งมั่นในพระรัตนตรัย และมีจิต ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
เพื่อเป็นเครื่องป้องกันคุ้มครองจิต ให้อยู่ในแนว ทางแห่ง
สัมมาสมาธิ และสัมมาปฏิบัติเสมอ

เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
๑. ดอกไม้ ๓ สี

๒. ธูป เทียน
๓. เงิน ๙ บาท

คำอธิฐาน : ขณะนี้ข้าพเจ้ามีศีลบริสุทธิ์ ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ประพฤติ
ในกาม ไม่ได้พูดปด ไม่ได้ดื่มสุรา ศีลห้าของข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าขอตั้งจิตเรียนวิชชานี้
ด้วยจิตเมตตา เพื่อช่วยเหลือสัตว์โลก พรหมวิหารสี่ข้าพเจ้า พร้อมบริบูรณ์ ข้าพเจ้าน้อมจิต
ยึดถือไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่อาศัยตลอดชีวิต ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ข้าพเจ้าขอตั้งจิต
เรียนวิชชานี้

เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ และบำเพ็ญบารมี ด้วยความจริงใจ หากแม้นข้าพเจ้ามีจิตคิดร้าย
นำวิชชาไปใช้ในทางที่ผิดต่อ ชาติ ศาสนา บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาท
วิชชานี้แล้ว ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เรียนวิชานี้สำเร็จ ถึงสำเร็จก็ขอให้วิชาที่ได้มาถูกส่งคืนไป
จนหมดสิ้น เมื่อข้าพเจ้าผิดสัจจะ แต่หากข้าพเจ้าใช้วิชชาในทางที่ถูกที่ควร ขอให้ข้าพเจ้า
จงเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งทางโลก และทางธรรมด้วยเทอญ.ส่วนดอกไม้ ธูปเทียนให้นำ
ไปบูชาพระและนำเงินบูชาครูไปทำบุญใส่บาตร หากไม่มี
ดอกไม้ธูปเทียน เงินบูชาครู และการขึ้นครูตอนนี้ ให้รีบทำภายใน ๓ วัน หากพ้นจาก ๓ วัน
แล้วยังไม่บูชาครูแล้วมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบขอขมาพระรัตนตรัย บูชาครู และใส่บาตรแล้ว
 จะหายจากอาการป่วย






เหตุผลที่ต้องมีการไหว้ครูบาอาจารย์

๑. พระท่านสั่งลงมาให้ทำ
๒. เป็นเครื่องแสดงความยอมรับนับถือให้แรงครู
( ทั้งที่มีกายเนื้อและไม่มีกายเนื้อผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชาสืบต่อกันมา )
ส่งลงมาคุ้มครองศิษย์ได้
๓. เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในวิชชาและชีวิตของศิษย์นั่นเอง

ลมปราณสัมพันธ์จิตใจ กายสัมพันธ์จิต


ถ้าร่างกายแข็งแรงจิตใจก็จะเข็มแข็งด้วยจิตและพลังจิต เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีลักษณะคุณสมบัติ ของคลื่น จึงสามารถหักล้างได้ สามารถเสริมคลื่น
และเหนี่ยวนำได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า เมื่อนั่งสมาธิกับพระอาจารย์ที่ทรงสมาธิสูง
จะสามารถทำให้ศิษย์และผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดสามารถนั่งสมาธิได้ดีขึ้น
หรือมีสมาธิสูงขึ้นไปตามลำดับคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างของพลังจิต คือ
มีความเร็วสูง เร็วกว่าแสง สามารถเดินทางไปได้ทุกมิติ รวมทั้งมิติของกาลเวลา นั่นคือ
เหตุผลในการใช้จิตในอตีตังสญาณ และอนาคตังสญาน คือ ไปดูอดีต และอนาคต
รวมทั้งการเดินทางไปยังภพภูมิอื่นๆ ด้วย ซึ่งเดิมทีมนุษย์มีพลังจิต แต่กิเลสมาบดบังจิต
รวมทั้งศีลธรรมประจำใจให้เสื่อมลง











































































 





1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ท่านใดสนใจวิชาบำเพ็ญเดินธาตุสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความนี้