วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องพระกรรมฐาน ( ตอนที่ ๑ )

ตามคำภีร์พระปรมัตถโชติกะอรรถกถาสุตตนาบาต

ได้จำแนกกรรมฐานไว้ ๒ อย่าง คือ

๑. สัพพัตถกรรมฐาน 

 เป็นกรรมฐานที่บุคคลพึงกระทำก่อนเจริญก่อนก่อนกรรมฐานอื่นๆ               

ใน ๔๐ อย่าง กรรมฐานที่ควรเรียนก่อนจัดเป็นมูลกรรมฐาน คือ                      

หัวใจสมถะกรรมฐาน มีพระพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น


๒. ปาริหาริยกรรมฐาน
 

หมายถึง เป็นกรรมฐานเบื้องต้น จนจิตเป็นสมาธิ ตั้งสมาธิ                               

ผูกสมาธิตั้งมั่น จึงเลือกเอาพระกรรมฐาน ๔๐ อย่าง อย่างใด                           

อย่างหนึ่งที่ เหมาะสม แก่จริตของผู้เจริญกรรมฐานให้เจริญเป็นลำดับๆ   

ที่เป็นกรรมฐานที่มี อารมณต่อเนื่องไปทำให้เกิด 

พระปิติทั้ง ๕ พระยุคคลธรรม   ทั้ง ๖ พระสุขสมาธิ ๒  

ตั้งแต่ตั้งสมาธิ ผูกสมาธิยังไม่ได้ จนมีสมาธิกล้าขึ้น 

อุปจารสมาธิ อุคคหนิมิต  เป็นของคู่กันกับอุปจารสมาธิ  

โดยเมื่อจิตเป็นสมาธิ สงบนิ่งกล้าขึ้น
ก็จะเกิดผลเป็น
ปามุชชะคือ ความยินดี 

หรือที่เรียกว่าปีตินั่นเอง
เมื่อปีติเกิด ศรัทธาย่อมเกิดตาม


ปีติ มีลักษณะให้ใจผ่องใส คือ อิ่มใจ ซาบซ่าน
ศรัทธา
เป็นลักษณะให้แล่นไปด้วยดีอย่างหนึ่ง บุคคลเมื่อมีศรัทธาต่อสิ่งใด
เมื่อระลึกถิงสิ่งนั้น จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติ มีความไม่ท้อแท้ จิตใจย่อมแล่นไป

ในสิ่งนั้น บุคคลผู้มีศรัทธาเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อความที่สัตว์ทั้งหลาย

มีกรรมเป็นของตน เชื่อในพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จิตก็ย่อมแล่น

ไปตามบุญกุศล เป็นจิตที่มีกำลัง ย่อมทำอะไรให้สำเร็จได้ง่าย เรียกว่า
พละ                                                

มีความเป็นใหญ่นการกระทำนั้น เรียกว่า อินทรีย์

พละ ประกอบด้วย ๕ ประการ

๑. ศรัทธาพละ มีความเชื่อมั่นเลื่อมใส เป็นกำลัง
๒. วิริยพละ มีความเพียงเป็นกำลัง
๓. สติพละ มีความระลึกรู้เป็นกำลัง
๔. สมาธิพละ มีความตั้งใจมั่นเป็นกำลัง
๕. ปัญญาพละ มีความรอบรู้เป็นกำลัง

อินทรีย์ ประกอบด้วย ๕ ประการ
๑. สัทธินทรีย์ มีความเชื่อความเลื่อมใสเป็นใหญ่ในหน้าที่
๒. วิริยินทรีย์ มีความเพียงเป็นใหญ่ในหน้าที่
๓. สตินทรีย์ มีความระลึกรู้เป็นใหญ่ในหน้าที่
๔. สมาธินทรีย์ มีความตั้งใจมั่นเป็นใหญ่ในหน้าที่
๕. ปัญญินทรีย์ มีความรอบรู้เป็นใหญ่ในหน้าที่

เมื่อจิตมีพละกำลังเป็นใหญ่ในการตั้งสมาธิผูกสมาธิ
ยังสมาธิให้เกิดแก่กล้าขึ้น ปีติความอิ่มเอิบใจก็เกิดตามลำดับดังต่อไปนี้

 ๑. พระขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย เกิดหนังหัวพอง ขนลุกทั่วทั้งตัว
 ๒. พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ เกิดปรากฏในจักขุทวารเป็นดังสายฟ้าแลบ
เหมือนดีเหล็กเป็น ประกาย

๓. พระโอกกันติกาปีติ
ปิติเป็นพัก ๆ เกิดให้กายไหวดังคลื่น
กระทบฝั่ง เหมือนขี่เรือต้องระลอกคลื่น

 ๔. พระอุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน เกิดให้เนื้อตัวหวั่นไหว โลดโผน รุกแล่นไปมา
 ๕. พระผรณาปีติ ปิติซาบซ่าน เกิดแผ่นไปทั่วกาย กายเนื้อตัวแผ่ซ่าน เนื้อตัวเย็น
เหมือนลงแช่น้ำ
พระปีติทั้ง ๕ ประการนี้ มีอยู่ในห้องพระพุทธานุสสติ นิมิต มีเพียงอุคคหนิมิต
และสมาธิมีเพียงขณิกะสมาธิเท่านั้น

อุคคหนิมิต คือ นิมิตที่มาสู่ที่แจ้งแห่งมโนทวาร คือ เห็นนิมิตทางใจ การเห็นนิมิตทางใจ 

การเห็นนิมิตทางใจนั้น อาจเกิดจากการคิดขึ้นเองบ้าง เกิดเป็นนิมิตหลอนบ้าง เป็นนิมิตที่
เกิดจากอุปาทานบ้างโบราณาจารย์ท่านให้แก่นิมิตหลอน นิมิตลวง
ด้วยการกำหนดสมาธิ ดูรัศมีต่างๆ ขององค์ปีติสีต่างๆ
หรือวรรณะต่างๆนี้ เป็นรูปารมณ์ 

จัดเป็นองค์ธรรม เมื่อเป็นองค์ธรรม ก็จะเกิดนิมิตตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ทำให้ไม่มีนิมิตหลอน 
นิมิตลวง เห็นตามรูปจริง เมื่อกำหนดสมาธิดูรัศมีต่างๆ ขององค์ปีติ เมื่อสมาธิกล้าขึ้น รัศมีองค์ปีติ
จะเกิดเป็นดวงๆบ้าง เป็นในลักษณะอื่นๆ บ้าง


มื่อแก้นิมิตหลอก นิมิตหลอน ด้วยการนั่งภาวนาดูรัศมีขององค์พระปีติ 5 
คือ รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ ผู้ที่เต็มไปด้วยความศรัทธา เต็มไปด้วยสติ
เต็มไปด้วยปัญญาย่อมเป็นผู้สามารถถอดกลั้น ต่อธรรมรมณ์

ที่เข้ามาสู่ทวารทั้ง ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส โผฏฐัพพะ เป็นต้น  
อารมณ์ที่ปรากฏทางรูปนั้น เมื่อไม่ดีก็หลับตาเสีย อารมณ์นั้นก็หายไป  
หรือสงบระงับไป แต่อารมณ์ทางหู คือ เสียงสงบได้ยาก แม้จิตจะเข้าถึง
อัปปนาสมาธิแล้วเสียงก็ยังไม่สงบระงับเสียทีเดียว ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า 
  เสียงเป็นเสี้ยนหนามของญาณ หรือ สมาธิ เมื่อปีติเกิดขึ้น
ตั้งแต่พระขุททกาปีติองค์แรก จนถึงพระผรณาปีติองค์สุดท้ายแล้ว ปีตินั้น
ก็แก่กล้าเต็มที่ ให้เหตุผลปีติทั้ง ๕ ย่อมเป็นผลให้เกิดเป็น ปัสสัทธิ คือ 
ความสงบ ระงับทางกายทางใจ เรียกว่า ยุคลธรรม ธรรมที่เป็นคู่กัน 
มี ๖ ประการ




๑. กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ สงบกาย สงบใจ
เกิดปรากฏกายใจสงบระงับอยู่
๒. กายลหุตา
จิตลหุตา กายเบา จิตเบา เกิดกายเบา
เย็นสบาย หายใจก็ดูเบาสบาย

๓. กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน
เกิดกายเนื้อตัวอ่อน และหายใจก็อ่อนสุขุมนัก

๔. กายกัมมัญญตา
จิตกัมมัญญตา กายควรแก่การงาน
จิตควรแก่การงาน เกิดให้สมาธิเยือกเย็น จิตก็เย็นสบาย

๕. กายปาคุญญตา
จิตตะปาคุญญตา กายคล่องแคล่ว จิตคล่องแคล่ว
เกิดกายเนื้อตัวแวววาวดุจหิ่งห้อยเข้าในที่มืด หายใจก็ดูกคล่องแคล่วสบายๆ
 
๖. กายชุคคตา จิตชุคคตา จิตตรง เกิดเนื้อตัวและจิตใจตั้งมั่นอยู่สบายนัก

 ๑. กายสุข จิตสุข สุขกาย สุขใจ เกิดให้กายภายในเนื้อตัวเย็นแต่ผิวหนัง เป็นดังลมพัด โชยอ่อนๆ 
พัดมาถูกต้องกาย หายใจก็อ่อนสุขุมนัก เหมือนนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ต้องลมริ้วๆ สบายริ้วๆ 
 ๒. อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตเป็นอุปจารสมาธิเต็มขั้น จะปรากฏบังเกิดให้จิตใจ ตั้งมั่น 
และนั่งอยู่เป็นสุขสบายไม่ไหวติง ปรากฏมีแสงรุ่งเรืองทั่วตัว



มื่อจิตสงบจากนิวรณ์ และอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตจะเข้าสู่รูปาวจร คือ

ญานที่ ๑ ปฐมฌาน
อันประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ
วิตก ความตรึก วิจาร ความตรองปีติ ความอิ่มใจ ความสุข ความสบายใจ ก็จะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

๑. อาวัชชนวสี

ชำนาญการระลึกนึกหน่วง

๒. สมาปัชชนวสี
ชำนาญในการเข้าญาน

๓. อธิฏฐานวสี

ชำนาญในการกำหนดอธิฐาน

๔. วุฏฐานวสี
ชำนาญในการออกญาน

๕. ปัจเวกขณวสี
ชำนาญในการพิจารณาองค์ญาน

ญานที่ ๒ ทุติฌาน
คือ ฌานที่มีความอิ่มเอิบ ผ่องใสในกายภายใน มีภาวะแห่งจิตอันมีอารมณ์
เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ความตรอง มีแต่ปีติ มีความอิ่บเอิบใจ มีความสุขใจ
ญานที่ ๓ ตติยฌาน
คือ เมื่อจิตคลายจากปีติ หรือความอิ่มเอิบใจ แล้วคลายจากความสุขหรือ
ความสุขใจ จะเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เสวยสุขด้วยนามกาย
ญานที่ ๔ จตุถฌาน
คือ เมื่อจิตละความสุขความทุกข์ได้ เพราะสุขใจทุกข์ใจ ดับไปในกาลก่อน 
มีความบริสุทธิ์แห่งสติ อันเกิดขึ้นเพราะอุเปกขา คือ การวางเฉย จิตจะเป็นเอกัคคตารมณ์
เมื่อจิตวางเฉยในอารมณ์ มีรูปเป็นต้นแล้ว จิตย่อมก้าวล่วงความกำหนดได้หมายรูปในรูป
คือ
รูปสัญญา หมายถึง ความจำหมาย กำหนดในรูป และจิตไม่ทำไว้ ไม่สนใจในรูปสัญญาต่างๆ
แต่ทำไว้ในใจว่า
อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ก็เข้าสู่ ปฐมอรูปฌาน ชื่อว่า อากานัญจายตนะ

อากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์

เมื่อก้าวล่วง
ปฐมอรูปฌานชื่อว่า อากาสานัญจายตนะด้วยประการทั้งปวง                                                 

 แล้วทำไว้ในใจว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
เมื่อก้าวล่วง
ทุติยอรูปฌาน ชื่อว่า วิญญานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง 

แล้วทำไว้ในใจว่า อะไร อะไร สักน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี
 
ก็เข้าสู่ ตติยอรูปฌาน ชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ มีความกำหนด หมายความว่า

  ไม่มี อะไรอะไร สักน้อยนึ่ง เป็นอารมณ์


เมื่อก้าวล่วง ตติฌาน ชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง 
ย่อมเข้าสู่ จตุถอรูปฌาน ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
คือ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เมื่อจิตก้าวล่วง จตุถอรูปฌาน 
ชื่อว่า เนสวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วจิตก็เข้าสู่
สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้ และดับเวทนา การสุข
 เป็นสมาบัติถ้าพระอริยบุคคล ผู้ได้ฌาน 8
เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ เรียกว่า เข้านิโรธสมาบัติ ถ้าปุถุชนผู้ได้รูปฌาน
 อรูปฌาน เข้า เรียกว่า เข้าสมาบัติ   




บททำวัตรพระกรรมฐาน 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ( กล่าว ๓ จบ )  
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ 
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ
 เย จ พุทธา อะตีตา จะ เย จะ พุทธา อะนาคะตา
ปัจจุปปันนา จะ เย พุทธา อะหัง วันทามิ สัพพะทา พุทธานาหัสสะมิ ทาโสวะ  
พุทธา เม สามิกิสสะรา พุทธานัญ จะ สิเร ปาทา มัยหัง ติฏฐันตุ สัพพะทาฯ  
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โหตุ เม ชัยมัง คะลัง ฯ
อุตตะมังเคนะ วันเทหัง ปาทะปังสุง วะรุตตะมัง
พุทเธ โย ขะลิโต โทโส พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมังฯ (กราบ)

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 58
Size: 7.6 KB
ID: 1409186


ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิฯ 

 สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก 
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ  
เย จ ธัมมา อะตีตา จะ เย จะ ธัมมา อะนาคะตา ปัจจุปปันนา 
จะเย ธัมมา อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ ธัมมา นาหัสสะมิ ทาโสวะ
 ธัมมา เม สามิกิสสะรา สัพเพ ธัมมาปิ ติฏฐันตุ มะมัง สิเรวะ สัพพะทาฯ
 นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ
 โหตุ เม ชะยะมัง คะลัง ฯ อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง ธัมมัญ จะ ทุวิธัง วะรัง
 ธัมเม โย ขะลิโต โทโส ธัมโม ขะมะตุตัง มะมังฯ ( กราบ )
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

  
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต 
สาวะกะสังโฆ ญายปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฏิปันโน 
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคะลา  
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
 อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ เย จ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะตา  
ปัจจุปปันนา จะ เจา สังฆา อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ  

สังฆานาหัสสะมิ ทาโสวะ สังฆา เม สามิกิสสะรา เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ  
มะมัง สิเรวะ สัพพะทา ฯ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง 
วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ
 อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง สังฆัญ จะ ทุวิโธตะมัง สังเฆ โย ขะลิโต โทโส
 สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ ( กราบ )

 

คำกล่าวขอขมาโทษอุกาสะ 
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ทวารัต ตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ( กราบ )
 


หลังจากนั้น จึงเริ่มปฏิบัติสมาธิภายหลังเจริญปฎิบัติภาวนาสมาธิเรียบร้อยแล้ว
 ก็ทำการแผ่เมตตาให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย 
 และกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงบิดา มารดา ผู้มีคุณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
 

 ขะมะถะ เม ภัน เต มะยากะตัง ปุญญัง สามินา 
อนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ( กราบ )

 

 





1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สำหรับผู้เพิ่งเริ่มปฏิบัติสามารถศึกษาความรู้เรื่องพระกรรมฐาน แล้วนำมาปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เพื่อเป็นการปฏิบัติให้ถูก แนวทางของพระพุทธองค์