วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการปฏิบัติมโนมยิทธิ
( ของหลวงพ่อพระฤาษีลิงดำ )



วิชชา มโนมยิทธิ เป็นวิชชาสาม กึ่งอภิญญา คำว่า มโนยิทธิ
หมายถึง
“ มีฤทธิ์ทางใจ ”
ผู้ที่ฝึกมโนยิทธิ จะสามารถทรงอารมณ์
พระโสดาบัน จะได้ผลอย่างรวดเร็ว
เพราะพระโสดาบัน
ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

ผู้ที่ฝึกมโนยิทธิ ได้ อย่างน้อยที่สุด ต้องตัดตัววิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัยในพระพุทธศาสนา
ในเรื่องสวรรค์ และนรกว่า
มีจริงหรือไม่ และผู้ที่ฝึก มโนยิทธิ สามารถใช้จิต
หรืออทิสสมานกาย

ท่องเที่ยวไปตามภพภูมิต่างๆ
ได้ เมื่อไปเห็นแดนอบายภูมิ
เห็นโทษจากการละเมิดศีล
ก็จะตั้งใจรักษาศีลบริสุทธิ์


มโนยิทธิ คือ การรับรู้ การเห็น การสัมผัส ตามความเป็นจริงด้วยใจ
ต้องอาศัยสมาธิจิต ด้วยการฝึกจิต
การกระทำจิตของตนเองให้มีฤทธิ์
มีอำนาจ สามารถรู้เห็นด้วยใจ หรือสัมผัสด้วยใจทุกอย่าง ที่พึงรู้พึงเห็น

เป็นต้นว่า รู้เห็นถึงสัจจะธรรม การเกิด การแก่ การเจ็บ การตายของ
สัตว์สรรพต่างๆ ที่ยังเวียนว่ายในวัฏสงสาร
เพื่อให้สู่แดนพระนิพพาน
รู้เห็นเหตุผลนำเอาไปเกิด และจุติปฏิสนธิ ในภพภูมิต่างๆ และเป็นปัจจัย
นำไป
สู่หนทางพ้นทุกข์ ไปสู่ความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน

¨ การรับรู้ เป็นการรับสัมผัส ด้วยใจ การเห็น เป็นการรับสัมผัส
หรือเห็นด้วยจิต ที่บางท่านเรียกว่า เห็นด้วยตาใน มิใช่ด้วยตาเนื้อ
อันเป็นหนึ่งในอวัยวะสุดหยาบของขันธ์ ๕

¨ การไปท่องเที่ยวแบบ มโนยิทธิ มิได้ยกเอากายหยาบไป แต่ใช้กายใน
หรือ อทิสสมานกาย ซึ่งผู้ฝึกมโนยิทธิจะมีจิตเป็นทิพย์ และมีรูปร่างลักษณะ
แตกต่างกันไป ตามความสะอาดของจิตของสภาพแต่ละบุคคลในขณะนั้น
เช่น มนุษย์ เทวดา เทพ พรหม หรือ วิสุทธิเทพ เป็นต้น


จิตกับอทิสมานกาย จะมีความแตกต่างกันตรงที่ จิตจะมีลักษณะ
เป็นดวงๆ มีความขุ่น ความใส ความแพรวพราวมีสีต่างๆกัน
ตามสภาวะอารมณ์ของ โลกียะ หรือ โลกุตตระ และเป็นส่วนหนึ่ง
ของ “ อทิสสมานกาย ”ส่วนอทิสมานกาย มีลักษณะคล้ายมนุษย์
มี หู ตา จมูก ปาก แขน ขา ต่างกันแต่ว่า ไม่มีอวัยะภายใน อันเน่าเหม็น
ไม่มีน้ำเลือด ไม่มีน้ำหนอง  หรืออุจจาระและปัสสาวะ อทิสมานกาย
จะมีลักษณะเบาสบาย มีความคล่องตัวมีเครื่องประดับและเครื่องแต่งกาย
ทั้งหลายเป็นทิพย์ทั้งหมด อันเกิดจากบุญกุศลที่ตนเองได้สร้างสม
และปฏิบัติไว้เอง



อทิสมานกาย จะมีลักษณะเบาสบาย มีความคล่องตัว มีเครื่องประดับ
และเครื่องแต่งกายทั้งหลายเป็นทิพย์ทั้งหมด อันเกิดจากบุญกุศลที่ตนเอง
ได้สร้างสมและปฏิบัติไว้เอง ตาทิพย์ :
ทิพยเนตร มนุษย์จะมีไม่ได้
จะมีได้เฉพาะเทวดา เทพ พรหม และพระอรหันต์ที่เข้าสู่พระนิพพานแล้วเท่านั้น
หรือบุคคลที่มีธรรมะ แต่ยังทรงขันธ์ ๕ อยู่ จะมีได้เฉพาะ “ ทิพยจักษุญาณ

หรือ ทิพจักขุญาณ ” ( การมีจิตเป็นทิพย์ ) เป็นฐานสำคัญในการปฏิบัติ
พระกรรมฐานหลักสูตร “ มโนยิทธิ ” หนึ่งในหก “ อภิญญา ” ของพระศาสนา


วิชชามโนยิทธิ เป็นหนึ่งในพุทธศาสตร์
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ซึ่งพระองค์ได้ทรงจำแนกไว้เป็นหมวดใหญ่ ได้แก่


สุกขวิปัสสโก
เตวิชโช ( วิชชา ๓ )
ฉฬภิญโญ ( อภิญญา ๖ )
ปฏิสัมภิทัปปัตโต ( ปฎิสัมภิทาญาณ )


สุกขวิปัสสโก :
บุคคลที่เรียบๆ เรื่อยๆ ชอบสบายๆ ไม่อยากรู้อยากเห็น
อาศัยการอ่านจากตำราและฟังครูบาอาจารย์แนะนำก็พอใจแล้ว
เมื่อปฏิบัติ
อาจจะได้เห็นนิมิตบ้าง


เตวิชโช :
บุคคลที่อยากรู้อยากเห็น ชอบสงสัย ฟังแต่คำบอกเล่า
ก็ไม่เป็นที่พอใจต้องพิสูจน์ ให้รู้ ด้วยตัวเอง ให้เห็นประจักษ์
ด้วยตนเอง
จึงจะเชื่อ


ฉฬภิญโญ :
บุคคลที่ซุกซน ชอบค้นคว้า อยากรู้อยากเห็น ใจกล้าใจร้อน ว่องไว
ตัดสินใจฉับพลันมากกว่าสองหมวดต้น ต้องรู้ได้ เห็นได้ และไปสัมผัสได้
จึงจะสุขใจพอใจ ปฏิสัมภิทัปปัตโต :บุคคลที่ทรงอิทธิบาท ๔ มีความดีสูงมาก
เพราะมีความสามารถเป็นปฏิสัมภิทาญาณ รู้รอบและรอบรู้ ทั้งรู้สึกและรู้กว้าง
ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการจะรู้ได้ยิ่งกว่าความสามารถของ ๓ หมวดต้นรวมกัน
แต่ทว่าผู้ที่จะมีความสามารถพิเศษหมวดนี้ได้ ต้องเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่พระอนาคามี
ขึ้นไป วิชชานี้จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
เป็นความจริงมิสูญสิ้น นรก สวรรค์ นิพพานนั้นมีจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

และสามารถพิสูจน์และเตือนสติได้ว่า ตนเองเคยทำความชั่วอะไรไว้
แล้วอยู่ในนรกขุมไหนมาบ้าง ทนทุกข์ทรมานอย่างไร จะได้เกรงกลัวต่อบาปกรรม
จะได้เลิกกระทำความชั่วเสีย หมั่นปฏิบัติความดี และรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง
ทำให้ยอมละอกุศลกรรม ค้นพบสัจจะธรรมว่าทุกข์อย่างไม่เที่ยงเป็นทุกข์
แต่ความตายดับสูญเป็นของเที่ยงแท้ รู้ดำรงชีพด้วยชอบ รู้ทุกข์และทางออก
จากทุกขเวทนา ละกิเลส ตัณหา อุปทาน และอกุศลกรรมทั้งปวงเสียได้
เห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกายว่าตัวเราคืออะไร อะไรคือตัวเรา เพื่อให้เข้า
ถึงพระนิพพานถึงที่สุด

คุณประโยชน์ของมโนยิทธิ

รู้ทุกข์ และวิธีแก้ทุกข์ หรือหนีทุกข์ได้รู้ว่าควรทำอะไร
ทำอย่างไร จึงจะมีผล อะไรไม่ควรทำ
รู้ว่าใครเป็นบัญฑิต เป็นพาล ควรคบ ไม่ควรคบ
รู้ว่าใครเป็นเนื้อนาบุญอยู่ที่ใด หรือเป็นสมมติสงฆ์
รู้ว่าที่เขาเล่าว่า หรือข่าวลือนั้น เป็นจริงหรือไม่เพียงไร

รู้วาระจิตของบุคคลว่าแท้จริงเขาเป็น คน มนุษย์
หรือผู้ทรงศีลหรือเป็นสัตว์ ฯลฯ

รู้ว่าบุคคล สัตว์ ก่อนเกิดมาจากไหน อาศัยปัจจัยใดให้ผล
รู้ว่าตายแล้วไปไหน เพราะกรรมใดเป็นเหตุ
รู้ว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว
รู้ว่าการควร ไม่ควร กิจใดใช่ และไม่ใช่กิจของตนเอง
รู้ว่าสภาวะร่างกาย และความเป็นไปในโลกนี้ต่างกัน
แบ่งแยก
เป็นคน เป็นสัตว์ ตามกรรมของตน แต่อทิสสมานกายของคน
และสัตว์ในภพอื่นนั้น เหมือนกันหมด ไม่มีการแบ่งแยก
ข้อแตกต่างอยู่ที่ความดี ในทาน ศีล ภาวนา อันเป็นอริยทรัพย์
ที่เสมอกันรู้ว่ามีพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์มากมายนับไม่ถ้วน
ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
รู้ว่าเห็น พระรูป พระโฉมของพระพุทธเจ้า

และสภาวะพระนิพพานรู้ว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต และรู้วันตาย อาการตาย
อย่างไรได้ ฯลฯ

กล่าวโดยสรุป ผู้ที่คล่อง ในวิชชาของพระพุทธเจ้านี้ จะรู้เห็น

และใช้ประโยชน์ได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นหมอดู พยากรณ์
โชคชะตาราศีก็ได้ ตราบเท่าที่จิตของท่านยังอยู่ในเขตบุญกุศล เหนือสิ่งอื่นใด
คุณประโยชน์ใหญ่ ก็คือ การรู้เห็นความจริงแท้ ทำให้จิตเบื่อหน่าย ละวาง
เป็นอุเบกขา เกิดสังขารุเปกขาญาณ หน่ายในวัฏสงสาร มุ่งนิพพานเป็นที่สุด

 แบบของมโนมยิทธิ

การฝึกมโนยิทธิ ผู้ฝึกต้องฝึกกสิณให้คล่องก่อน สามารถทำจิตให้เป็นฌาณ
ในกสินได้ฉับพลันคล่องตัว โดยไม่ต้องตั้งท่าเป็นต้นว่า เตโชกสิณ ( กสิณไฟ )
หรือ อาโลกกสิณ ( สินแสงสว่าง ) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดทิพจักขุญาณ ต้องอดทน
ทรมานกายฝึกกันเป็นเดือน ๆ ปีๆ ทีเดียวจะได้ และมีจำนวนมากที่พยายามปฏิบัติ 
มานับสิบปีก็ไม่ได้

เมื่อได้กสิน กองใดกองหนึ่ง หรือหลายกองจนคล่อง ครูบาอาจารย์จึงจะมาต่อวิชชาให้
ดังนั้นวิชาความรู้ทั้งหลาย ทั้งทางโลก และทางธรรม ในการเจริญสมาธิแบบ มโนยิทธิ
มีหลายวิธี แต่ที่นิยมปฏิบัติ มี ๒ แบบ ได้แก่
๑. แบบเต็มกำลัง  ๒.แบบครึ่งกำลัง

แบบเต็มกำลัง

บางครั้งเรียกว่า แบบเต็มอัตรา
ครูบาอาจารย์ท่านจะให้ตั้งต้นด้วย ฌาณ ๔
ให้อทิสสมานกาย ออกจากกายหยาบด้วยกำลังของ ฌาณ ๔
และอาศัยกำลังความสะอาดของจิตดยการแนะนำอารมณ์วิปัสสนาฌาน
ให้ เพื่อให้รู้เห็นสภาวะพระนิพพานได้

แบบครึ่งกำลัง

หรือที่เรียกว่า กึ่งมโนยิทธิแท้ ” ขึ้นต้นด้วยกำลังสมาธิจิตต่ำมาก
แค่ระดับอุปจารสมาธิเท่านั้น แต่อาศัย ศีล และ วิปัสสนาฌาณ
อารมณ์คิดตัดกิเลส ให้จิตสะอาดสูงมาก เป็นองค์ ประกอบสำคัญ

คุณสมบัติผู้ฝึกมโนยิทธิ
ควรรักษาศีล ๕(ต้องมีศีลบริสุทธิ์ )

๑.ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
( เว้นจากการฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ )

 
๒.อทินนาทา เวระมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

( เว้นจากการลักทรัพย์ ไม่คดโกงเขา )


๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
( 
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงประเวณีบุตร ภริยา สามี ผู้อื่น )

๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เว้นจาการพูดเท็จ ใส่ร้าย ป้ายสีแก่ผู้อื่น )


๕. สุราเมรยะ มัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
( เว้นจากการดื่มสุราเมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษ )


วิหาร ๔

๑.เมตตา ( ความรัก )
๒.กรุณา ( ความสงสาร )
๓.มุทิตา ( ยินดีในความดีของผู้อื่น )
๔.อุเบกขา
( วางเฉยในสิ่งเหลือวิสัยของเรา )


อริยสัจ ๔คือ ความจริงที่สามารถยกระดับจิตมนุษย์
เป็นอริยบุคคลได้

๑.ทุกข์
( มองเห็นว่าร่างกายมนุษย์และสรรพสัตว์มีแต่ความแปรปรวนเป็นทุกข์ )
๒.สมุทัย
(เข้าใจว่าสาเหตุแห่งทุกข์ว่าจิตใจ ไปหลงยึดติดร่างกายทำให้เกิดทุกข์)
๓.นิโรธ
( จะดับทุกข์ทางใจได้ก็ด้วยการสละละปล่อยวางร่างกายออกจากจิต
ไม่หลง ลืมยึดติดกายอีกต่อไป )

๔.มรรค

( หนทางเดินแห่งความสุขยอดเยี่ยมของจิต คือ นิพพาน
เป็นธรรมญาณอาศัยกายเนื้อชั่วคราว จิตธรรมญาณ

มุ่งนิพพาน เป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต )
 


ศรัทธา ( ต้องมีศรัทธา )
ความเชื่อในความดีและผลของการปฏิบัติ
ยอมรับนับถือความดี และคำสั่งสอนของ
องค์พระบรมครูและพระอริยสงฆ์
เชื่อและพิจารณาตามคำสอน
เชื่อมั่นในตนเองและความรู้สึกครั้งแรก
ของตนขณะปฏิบัติ


อิทธิบาท ๔
ฉันทะ ความพอใจในการปฏิบัติที่กำลังทำอยู่
วิริยะ
ความพยายามและเข้าใจ ความความเป็นจริงว่า
การทำงานทุกอย่างทั้งทางโลกและทางธรรม
ต้องมีอุปสรรค ต้องอาศัยความพากเพียรต่อสู้
ไม่ท้อถอย จนกว่าจะชนะ จิตตะ เอาใจใส่ในวิชา
ความรู้ที่เราได้พึงศึกษา และการกระทำต่อเนื่อง
ไม่ละเลย หลงลืม วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณา
 ด้วยความมีเหตุมีผลในการหาเหตุผล
ใคร่ครวญแล้วสลัดความโง่เขลาทิ้ง


ข้อแตกต่าง:
ะหว่างการไปหรือการรู้เห็น แบบครึ่งกำลัง และเต็มกำลัง
ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า


การไปแบบครึ่งกำลัง :
คล้ายๆ กับไปในเวลากลางคืน มืดบ้าง สว่างบ้าง ไม่แน่นอน

การไปแบบเต็มกำลัง :
เหมือนตัวเราไปเอง เห็นชัดมาก

ข้อที่เหมือนกัน:
จิตสามารถเชื่อมโยงกับประสาทอยู่ตามเดิม
ร่างกายยังรู้ตัวอยู่ เจรจารู้เรื่อง และโต้ตอบกันได้


การฝึกแบบครึ่งกำลัง :
ผู้ขอรับการฝึกต้องตั้งใจบริกรรมภาวนา
นะมะ พะทะ เท่านั้น หายใจเข้า “ นะมะ ” หายใจออก “ พะทะ ”
เวลาภาวนา ให้จิตจดจ่อที่คำบริกรรมภาวนา และรู้ลมหายใจเข้าออก
ด้วยคำภาวนา “ นะมะ พะทะ ” ประมาณ 10 นาทีจนจิตสงบขณะภาวนา
พยายามอย่าให้ขัดกันกับลมหายใจ ปล่อยอารมณ์ตามสบาย อย่าให้เหนื่อย
ถ้าภาวนาช้าเกินไปอาจจะเหนื่อยได้

ถ้าภาวนาเร็วเกินไปก็จะเหนื่อยเช่นกัน ถ้ารู้สึกว่าจังหวะใดไม่เหมาะ
ก็ให้เปลี่ยนจังหวะเสียใหม่ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิมั่นคงแล้ว ก็ให้ตัดความ
ห่วงใยในร่างกายรู้และยอมรับความเป็นจริง ผู้ศึกษาต้องน้อมใจตามคำสอน
ให้เห็นทุกข์ ตั้งใจตัดกิเลส ถ้าตัดกิเลสได้ จิตจะบริสุทธิ์ใสสะอาด จิตจะรับภาพ
แจ่มใสคล้ายเห็นภาพในทีวีสี ถ้าจิตวางกิเลสได้ ( เฉพาะเวลา ) อย่างกลางๆ
จิตจะเห็นภาพไม่ชัดเจนนัก ถ้าจิตสะอาดน้อยจะมีแต่ความรู้สึก
 แต่เห็นภาพไม่ชัด หรือไม่เห็นเลย



เมื่อจิตของท่านเริ่มสะอาด ตามกำลังความสามารถ
การตัดกิเลสของท่านแล้ว ครูบาอาจารย์ก็จะแนะนำวิธี
ทำทิพจักขุญาณให้เกิดก่อน ให้เอาจิตหรืออทิสสมานกายออกไป

รับสัมผัสบุคคล รู้เห็น ท่องเที่ยวไปในบางสถานที่ เช่น
ดาวดึง
สเทวโลก พระจุฬามณีเจดีย์สถาน พระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
แดนพระนิพพาน เป็นต้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัติ และมีเวลาเพียงพอหรือไม่
เมื่อได้ทิพย์จักขุญาณแล้ว ครูบาอาจารย์ก็จะแนะนำ การท่องเที่ยวใน
ภพภูมิต่างๆ ดินแดนต่างๆ เพื่อซักซ้อมให้คล่องตัว ชมสวรรค์ทุกชั้น
พรหมโลก แดนพระนิพพานนรก เปรต อสุรกาย ดวงดาวต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งสนุกสนานเพลิดเพลินได้ความรู้จริงมากมาย เกินกว่าในตำรา
หรือวิทยาการสมัยใหม่จะรู้ได้


 














































 












1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

แนวทางการฝึกมโนยิทธิของหลวงพ่อพระฤาษีลิงดำ