วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น

มีด้วยกันหลากหลายรูปวิธี แล้วแต่ผู้ที่จะสามารถนำไปใช้ปฎิบัติเหมาะสมกับตัวเอง
แต่ละบุคคล ดังนั้นผู้เขียน จะกล่าวถึงการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น ที่ตนเองเคยปฏิบัติ
และศึกษาค้นคว้ามาประยุกต์ใช้กับตนเอง ซึ่งสาธุชนทั้งหลายสามารถเลือก
ปฎิบัติได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง เพื่อค้นพบสัจจะธรรม
ด้วยตัวของท่านเอง
จากการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น
การฝึกสมาธิเบื้องต้น
สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์ สามารถสร้างขึ้นได้

ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนด เอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวัน
อย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่อง ไม่เหลือวิสัย
ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติ ที่ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้

. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวล ไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทาน

ศีลห้าหรือศีลแปดเพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจ

จะทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงาม
ความดี ล้วนๆ
. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่

ในจังหวะพอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลัง โค้งงอ หลับตาพอ
สบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตา หรือว่าขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย
 สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไป สู่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง
. นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงแก้วกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากราคีหรือ

รอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้ เรียกว่า บริกรรมนิมิต
นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้ว
เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้ว นั้นมา นิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฐาน ที่
เหนือสะดือสองนิ้วมือ



 
นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า สัมมา อะระหัง
หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้ว กลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตาม 
แนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วย การนึกอย่างสบายๆ 
ใจเย็นๆ พร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิทปรากฏแล้ว 
ณ กลางกาย ให้วาง อารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น
 
จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็น ส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้น
อันตรธานหายไปก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบายแล้วนึกนิมิตนั้น
ขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือ เมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย 
ให้ค่อยๆ  น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต
มาหยุดสนิท 

 ณ ศูนย์กลางกาย ให้ วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้าย
มีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้ว สนใจเอาใจ
ใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วนแล้ว จากนั้นทุกอย่าง
จะค่อยๆปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุดซ้อน 
ขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต
 
ตรงที่เราเอาใจใส่อย่าง สม่ำเสมอ ดวงนี้เรียกว่า ดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค
อันเป็นประตูเบื้องต้น ที่จะเปิด ไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึก
ถึงนิมิต
หรือ ดวงปฐมมรรค สามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ทุกอิริยาบถเพราะดวงธรรมนี้คือ
ที่พึ่งที่ระลึกถึงอันประเสริฐสุดของมนุษย์
 

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: ที่ตั้งจิต.jpg
Views: 83
Size: 9.9 KB
ID: 1408909

ข้อควรแนะนำ

คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่าง สบายๆ
ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น
อัน จะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากมากจนเกินไป
จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็น กลาง
และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่น ตรึกระลึก นึกถึงอยู่เสมอ
จนกระทั่งดวงปฐมมรรค กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ
หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะ
ทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้น ทางแห่งความสุข ความสำเร็จ
และความไม่ประมาทได้ตลอดไป
ทั้งยัง จะทำ ให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย



ข้อควรระวัง


. อย่า ใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบ กล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรง ส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจาก ศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้ เผลอจากบริกรรมภาวนา
และบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิต เมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง 
การบังเกิดของดวงนิมิตนั้นอุปมาเสมือนการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ 
เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้

. อย่ากังวล ถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการ ฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย
อาศัยการน้อมนึก อาโลก-กสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อ เกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง
แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ประการใด

. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์ กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม
เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้าย ฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด
ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ใสควบ คู่กันตลอดไป

๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้ว
หายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ใน ที่สุดเมื่อจิตสงบ 
นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: พระพุทธองค์.jpg
Views: 36
Size: 6.6 KB
ID: 1408924

พิธีปลูกศรัทธาเบื้องต้น
โบราณาจารย์ท่านมีพิธีปลูกจิตศรัทธาเบื้องต้น 
ก่อนการเรียนพระกัมมัฏฐาน คือ จัดยกครู

เทียนขี้ผึ้งห้าคู่ ดอกไม้ขาวห้าคู่ เรียกว่าขันธ์ห้า
เทียนขี้ผึ้งแปดคู่ ดอกไม้ขาวแปดคู่ เรียกว่าขันธ์แปด
เทียนขี้ผึ้งคู่หนึ่ง หนักเล่มละ บาท ดอกไม้ขาวเท่ากับเทียน

แล้วอาราธนา พระกัมมัฏฐานทั้ง
๔๐ ทัศ ให้เข้ามาอยู่ในขันธสันดาน
ของข้าพเจ้าในกาลบัดนี้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเรียนพระกัมมัฏฐานเป็นลำดับค่อไป

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: พระพุทธเจ้า.jpg
Views: 35
Size: 5.3 KB
ID: 1408929


การสอนบริกรรมภาวนา

เมื่อทำพิธีปลูกศรัทธาเบื้องต้นแล้ว จึงเข้าไปหา พระอาจารย์ที่ชำนาญ
พระกัมมัฏฐานนั้นๆซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ บางท่านชำนาญฝ่ายบริกรรม 
สัมมาอะระหัง
 

ท่านก็สอนให้บริกรรมภาวนาว่า “ สัมมาอะระหัง ”
ท่านก็สอนให้บริกรรมภาวนา “ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ”
ให้กำหนดเป็น
ดวงแก้วใสๆ อยู่เหนือสะดือขึ้นไปประมาณ ๒ นิ้ว


แล้วเอาจิตไปตั้งไว้ตรงนั้น
ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่าให้จิตหนีไปจากดวงแก้ว
หมายความว่า เอาดวงแก้วเป็นที่ตั้งของจิตก็แล้วกัน

เมื่อได้เข้าไปหาพระอาจารย์ท่านที่ชำนาญ
ในด้านการภาวนา
“ ยุบหนอ พองหนอ ”
ท่านก็จะสอนให้ภาวนาว่า “ ยุบหนอ พองหนอๆ ”

หรือให้กำหนดเอาจิตไปไว้ที่อริยาบถ
ก้าวยกเท้าขึ้นว่า ยกหนอ เมื่อเหยียบลงก็ว่า เหยียบหนอ
หรือพิจารณาให้เห็นความเกิดและความดับ
ทุกอิริยาทถอย่างนี้ เรื่อยไปเป็นอารมณ์


เมื่อได้เข้าไปหาพระอาจารย์ที่ชำนาญในด้านอิทธิฤทธิ์
ท่านก็สอนคาถาภาวนาให้ว่า นะ มะ พะ ทะให้เอาจิตเป็นอารมณ์อันหนึ่ง
แล้วจิตจะพาไปเห็น เทพ สวรรค์ นรก พระอินทร์ พระพรหม ต่างๆ นานา
หลายอย่าง เพลิดเพลินอยู่กับอารมณ์นั้นๆ


เมื่อเข้าไปหาพระอาจารย์ท่านที่ชำนาญในด้านการภาวนา
“ พุทโธ ”  
ท่านก็จะสอนให้บริกรรมว่า “ พุทโธ ๆๆ ”
 แล้วให้เอาจิตไปตั้งมั่นอยู่ในคำบริกรรมนั้น จนชำนาญเต็มที่แล้ว
แล้วก็จะสอนพิจารณาถึง “ พุทโธ ” กับผู้ว่าพุทโธ เมื่อพิจารณา
เห็นเป็นคนละอันแล้ว พึงจับเอาผู้ว่าพุทโธนั้น
ส่วนพุทโธนั้นจะหายไป เหลือแต่ผู้ว่า
พุทโธอย่างเดียว
แล้วให้ยึดเอาผู้ว่าพุทโธนั้นเป็นหลัก

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 1.jpg
Views: 39
Size: 7.2 KB
ID: 1408936

หลักปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน



คำว่า “ กรรมฐาน ”หมายความว่า ที่ตั้งของการทำงานทางจิตใจ
สมถกรรมฐาน
หมายความว่า เป็นที่ตั้งของการทำงานทางจิตใจ
ซึ่งจะทำให้จิตใจเป็นสมถะ คือ ให้สงบ วิปัสนากรรมฐาน
หมายความว่า ที่ตั้งของการทำงานทางจิตใจ
อันจะทำใจให้เกิด
วิปัสนากรรมฐาน คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง





สมถกรรมฐาน เป็นประการแรก ที่จะต้องทำใจให้สงบจากราคะ
หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่หุ้มห่อจิตใจอยู่เสียก่อน เพื่อให้จิตหลุดพ้นจาก

เครื่องหุ้มห่อที่มีอยู่อย่างหนาแน่นทางกายและจิตใจ ต่อจากนั้น
จึงดำเนินการเริ่มปฏิบัติในวิปัสนากรรมฐาน คือ เมื่อจิตใจปลอดโปล่ง
หลุดพ้น จากกิเลสที่เป็นเครื่องหุ้มห่ออยู่มากมาย ก็จะเป็นจิตใจที่สิ้น
ความลำเอียงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


เมื่อจิตใจสิ้นความลำเอียงจะพินิจพิจารณาดูอะไร ก็จะเห็นแจ่มแจ้ง
ตามเหตุผลความเป็นจริง
ซึ่งเป็นขั้นวิปัสนากรรมฐานต่อไป





กาย คือ พิจาราณาที่ตัวเราแล้ว ตัวเราจะมีการหายใจเข้าออกอย่างเป็นปกติ
อันจะขาดสียมิได้ ทั้งในเวลาตื่นอยู่และเวลาหลับ ทั้งจะต้องมีอิริยาบถ คือ
มีการเดิน การนั่ง การนอน การยืน การนอน และอริยาบถใดบทหนึ่ง
ทั้งรูปกายอันนี้ประกอบด้วยอวัยวะทั้งภายในและภายนอก เช่น
เป็นส่วนภายนอกก็มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เป็นส่วนภายใน
ก็มีเนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ เป็นต้น







อวัยวะเหล่านี้ ส่วนที่แข็งก็สมมติว่าเป็น
“ ธาตุดิน ”ส่วนที่เอิบอาบ ก็สมมติเรียากว่า
“ ธาตุน้ำ ” ส่วนที่อบอุ่นสมมติว่า “ ธาตุไฟ ”
ส่วนที่พัดไหวก็สมมติเรียกว่า
“ ธาตุลม ”



เมื่อธาตุทั้งหลายยังควบคุมอย่างปกติ ร่างกายก็เป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อธาตุทั้งหลายสลาย 
เช่น เมื่อธาตุลมดับ ลมหายใจเข้า หายใจออกดับ ร่างกายนี้ก็เป็นร่างกายที่ตายแล้ว 
ทิ้งไว้ไม่ช้าร่างกายนี้ก็จะเน่าเปื่อย และส่วนต่างๆ ก็จะสลายไปในที่สุด- เวทนา คือ 
เมื่อกายยังมีชิวิต ธาตุทั้งหลายยังควบคุมอยู่ปกติ ก็มีเวทนา คือ ความเสวยสุข และทุกข์ 
บางครั้งอารมณ์เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ , ไม่สุข ซึ่งจะรับรู้ได้โดยทางประสาทความรู้สึก
 เป็นต้น - จิต เมื่อร่างกายยังควบคุมอยู่ ธาตุทั้งหลายยังดำรงอยู่โดยปกติ ร่างกายนี้  
ก็เป็นที่อาศัยของจิตใจ จิตใจของมนุษย็ก็มีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
 จิตใจที่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 2.jpg
Views: 15
Size: 19.1 KB
ID: 1408980  คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 3.jpg
Views: 11
Size: 5.0 KB
ID: 1408982
การนั่งสมาธิ
 ตามแบบแผน พระบาลีมีดังนี้


สีทะติ บัลลังกัง ( พึงนั่งคู้บังลังก์ขัดสมาธิ เท้าขวา ทับเท้าซ้าย )
 อุชุ กายัง ปะณิธายะ ( ตั้งกายให้ตรง ) 
ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตตะวา ( ตั้งสติไว้ให้มั่นในรอบหน้า ใต้นาภี ๒ นิ้ว )
โส สะโตวะ อัสสะสะติ ( เป็นผู้สติหายใจเข้าว่า “ พุท ” )
สะโต ปัสสะสะติ ( เป็นผู้มีสติหายใจออกว่า “ โธ ” )

สติ ได้แก่ ความระลึกได้ คือ นิมิตหมายที่เกาะของจิต เช่น ลมหายใจเข้า หายใจออก
หรือตั้งที่จุดใต้นาภีห่าง ๒ นิ้ว ส่วนจิต คือ การคิด การรู้ การนึก
  การตั้งสมาธิ ผูกสมาธิ 
ต้องมีโยนิโสมนสิการ คือ การกำหนดนึกในใจ ให้แยบคายให้ทันในอารมณ์ปัจจุบัน 
ไม่ไห้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ของอกุศลธรรม คือ อารมณ์ที่ไม่ดี อย่าให้เข้ามาขัดขวางได้ 
 อารมณ์ที่ขัดขวางความก้าวหน้าทางสมาธิ เรียกว่า นิวรณ์ธรรม แปลว่า ธรรมอันกั้น
จิตไม่ให้บรรลุความดี คือ กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ ได้แก่
 

๑. กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ ในกามารมณ์ มีความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น   
ท่านเปรียบเทียบจิตที่มีนิวรณ์ธรรม เหมือน้ำในลักษณะต่างๆ ที่ใส่ในภาชนะ คือ กามฉันทะ  
ท่านเปรียบเทียบเหมือนน้ำที่ถูกผสมด้วยสีต่างๆ กามฉันทะนี้จัดเป็น ราคะจริต อันเป็นจริต
ฝ่ายอกุศลจิต
ต้องทำลายด้วยการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน หรืออสุภกรรมฐาน


๒.
พยาบาท ความขัดเคือง ปองร้ายผู้อื่น ท่านเปรียบเทียบเหมือนน้ำที่ต้มเดือดพล่านเป็นฟอง
พยาบาทนี้ท่านจัดเป็นโทสะจริต เป็นจริตฝ่ายอกุศลจิต ต้องทำลายด้วยการเจริญเมตตา
กรรมฐานคือเห็นใจรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง

๓. ถีนมิทธะ ความท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน เฉื่อยชา เป็นจิตที่มาเหมาะสมแก่การเจริญกรรมฐาน
ท่านเปรียบเทียบเสมือนน้ำ ที่ถูกปกคลุมด้วยสาหร่าย และจอกแหน ถีนมิทธะ
ท่านจัดเข้าใน
ศรัทธาจริต เป็นจริตที่ควรสร้างขึ้น เมื่อศรัทธาแล้ว ควรทำยิ่งๆ ขึ้นไป

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน และหงุดหงิด รำคาญใจ
 
 วุ่นวายใจ กังวลใจท่านเปรียบเทียบเหมือนน้ำที่ลมพัดไหว กระเพื่อมเป็นระลอกคลื่น  
จัดเป็นวิตกจริต อันเป็นจริตฝ่ายอกุศล ต้องทำลายด้วยการเจริญกสิณกรรมฐาน

๕.
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจลงได้ ท่านเปรียบเหมือนน้ำขุ่น ด้วยโคลนตม และตั้งอยู่
ในที่มืด เปรียบเทียบบุรุษที่มีดวงตาต้องการดูเงาหน้าในน้ำ ที่อยู่ในภาชนะลักษณะต่างๆ
หากเห็นเงาหน้าในตนเอง ฉันไม่ฉันใด ผู้มีจิตนิวรณ์ ธรรมทั้ง ๕ ครอบงำแล้ว
ก็มิเห็น
คุณธรรมตามความเป็นจริงไม่


ในนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ต้องแก้ด้วย พระกรรมฐาน กายคตาสติบ้าง
 
เมตตากรรมฐานบ้าง พระพุทธานุสสติกรรมฐานบ้าง กสิณกรรมฐานบ้าง 
แก้ด้วยจตุธาตุวัฏถานกรรมฐานบ้างกรรมฐานที่แก้ นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ 
โบราณาจารย์ท่านถือว่า เป็นหัวใจ พระสมถะกรรมฐาน หัวใจยอดสมถะกรรมฐาน 
ในพระพุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ใช้คำภาวนา

พุท โธ สองคำนี้ นับว่าเป็นยอดหัวใจยอดสมถะกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ควรเจริญก่อน
  ควรบริหารรักษาอารมณ์ ให้ติดต่อกันไปด้วยกำลังสติ สัมปชัญญะ พระพุทธานุสสติกรรมฐาน
 ถือว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานเบื้องต้น ที่ควรรักษาอารมณ์ไว้
 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: 40023.jpg
Views: 13
Size: 11.2 KB
ID: 1408992



 




















1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ทุกท่านสามารถอ่านหรือศึกษาวิธีปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นนี้ได้จากบทความนี้